วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เครื่องยนต์ SR กับ RB ค่ายรถยนต์ NISSAN

เครื่องตระกูล SR 20 ของค่าย NISSAN เป็นเครื่องที่นิยมมากตัวหนึ่งเช่นกัน มีทั้งแบบธรรมดา และมี เทอร์โบ แล้วแต่ความชอบและการเลือกใช้ให้เหมาะสม

เครื่อง SR 20 DET ฝาครอบวาล์วสีแดง 205 แรงม้า เริ่มต้นถูกจับวางขวางใช้กับตัว NISSAN PULSA 4 WD ก่อน ต่อมาช่วงปี 1990-1993 ถูกจับมาวางตรงแล้วขับหลัง ในบอดี้ของ SILVIA รุ่น PS 13 กับตัว 180 SX รุ่น PRS 13 เป็นเครื่อง SR 20 SET Type-1 แบบ DOHC 4 สูบ แถวเรียง 16 วาล์ว TURBO ความจุ 1,988 ซีซี ( 86 x 86 ) อัตราส่วนกำลังอัด 8.5 ต่อ 1 แล้วติดเทอร์โบ GARRETT T 25 G มีค่า Compressor A/R 0.8 ใช้หัวฉีดขนาด 370 ซีซี ได้แรงม้า 205 ตัวที่ 6,000 รอบต่อนาที ส่วนเครื่อง SR 20 DE ตัวขับหน้า เอาไปใส่ใน Bluebird SSS 4 WD รหัส HNU แรงม้า 210 ตัว ที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิด 28 กก.-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที

หลังจากนั้นมา SR 20 ก็มีการปรับปรุงเป็นรุ่น Type-2 แต่ม้าเท่าเดิมคือ 205 ตัว ที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิด 28 กก.-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที เหมือนเดิม แต่ปรับปรุงชุดเทอร์โบไปใช้แบบ Ball Baring อยู่ในบอดี้ 180 SX รุ่น RPS 13 II ปี 1996-1998 โดยเปลี่ยนฝาครอบวาล์วเป็นสีดำ หรือที่เรียกกันว่ารุ่น ฝาเรียบ
ปี 1993 NISSAN ได้ปรับปรุงเครื่อง SR เป็น Type-3 ในตัว Silvia รหัสตัวถัง S 14 ตั้งแต่ปี 1993-1997 และ CS 14 ปี 1996-1999 มีเทคโนโลยี่การเปลี่ยนองศาแคมชาร์ฟได้ (ระบบ VVT ) ตัวของฝาครอบวาล์วมีสีดำ และมีขนาดความสูงมากกว่าตัวเก่า มีลักษณะเทลาด หรือเรียกว่ารุ่น หลังหัก หรือฝาโหนก เครื่องตัวนี้เป็นยุคแรกของเครื่องระบบ DOHC 4 สูบ แถวเรียง 16 วาล์ว VVT Turbo ความจุ 1,998 ซีซี ( 86x86 ) อัตราส่วนกำลังอัด 8.5 ต่อ 1 เปลี่ยนจากชุด Turbo GARRETT T 25 G ในตัว Type-1 และ Type-2 มาเป็นรุ่น T 28 และเพิ่มขนาดหัวฉีดจากเดิม 370 ซีซี เป็น 380 ซีซี ทำให้ได้ฝูงม้าเพิ่มขึ้นเป็น 220 ตัวที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิด 28 กก.-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที

ระหว่างปี 1998 มีการปรับปรุงเครื่อง SR รุ่นหลังหักนี้เป็น Type-3.5 วางใน บอดี้ CS 14 Silvia หน้าเหยี่ยว รุ่นปี 1998-1999 เป็นเครื่อง DOHC 4 สูบ แถวเรียง VVT Turbo ความจุ 1,998 ซีซี (86 x 86 ) อัตราส่วนกำลังอัด 8.5 ต่อ1 ใช้ Turbo IHI แบบ High Floe และเพิ่มขนาดหัวฉีดเป็น 480 ซีซีได้ม้าเป็น 250 ตัวที่ 6,400 รอบต่อนาที แงบิด 288 กกง-เมตร ที่ 4,800 รอบต่อนาที
สำหรับตัว S 15 จะได้เครื่อง Sr 20 DET Type-4 และยังเป็นเครื่อง รุ่นหลังหักเหมือนเดิม จากรูปแบบของเครื่อง DOHC 4 สูบ แถวเรียง 16 วาล์ว VVT Turbo ความจุ 1,998 ซีซี มีม้า 250 ตัวที่ 6,400 รอบต่อนาที แรงบิด 28 กก.-เมตรที่ 4,800 รอบต่อนาที ใช้ Turbo GARRETT รุ่น T 28 ใช้หัวฉีด 480 ซีซี เป็นเกียร์เดนหน้า 6 จังหวะ ถ้าตัว Type-3 จะเป็นแค่ 5 จังหวะ

เครื่อง RB
เครื่อง แรงอีกตระกูล ที่ผู้รักความแรงต้องรู้จักชื่อเสียงมานานแล้ว จะเป็นรองเรื่องความทนทานก็เครื่องตระกุล J ของโตโยต้าเท่านั้น แต่ถ้าโมดิฟายกันเต็มๆและถูกต้องแล้วก็น่าจะไม่แตกต่างกัน
เครื่อง RB จะสถิตอยู่หลายรุ่น ที่รู้จักกันดีก็เห็นจะไม่พ้นตัวแรงอย่าง Skyline เจ้าปลายฟ้ามหากาฬ ลองมาดูสเปคกัน
RB 20
RB 20 E
RB 20 DE
แบบ
6 สูบ OHC 12 V. แบบ
6 สูบ DOHC 24 V.
ขนาด 1998 ขนาด 1998
ความกว้าง x ช่วงชัก 78 x 69.7 ความกว้าง x ช่วงชัก 78 x 69.7
แรงอัด 9.5:1 แรงอัด 9.5:1
แรงม้า 125/5600 แรงม้า 155/6400
แรงบิด 17.5/400 แรงบิด 18.8/5200
เฟืองท้าย 4.363 เฟืองท้าย 3.916 (Auto)
RB 20 DET (ฝาแดง)
RB 20 DET (ฝาบรอนซ์)
แบบ
6 สูบ DOHC 24 V. แบบ
6 สูบ DOHC 24 V.
ขนาด 1998 ขนาด 1998
ความกว้าง x ช่วงชัก 78 x 69.7 ความกว้าง x ช่วงชัก 78 x 69.7
แรงอัด 9.0:1 แรงอัด 9.0:1
แรงม้า 190/6400 แรงม้า 205/6400
แรงบิด 24.5/4800 แรงบิด 27/3200
เฟืองท้าย 3.916 (Auto) เฟืองท้าย 3.916 (Auto)
RB 20 DET (ฝาบรอนซ์ มี โบวอ็อฟวาล์ว)

RB 20 DET
แบบ
6 สูบ DOHC 24 V.
ขนาด 1998
ความกว้าง x ช่วงชัก 78 x 69.7
แรงอัด 9.0:1
แรงม้า 215/6400
แรงบิด 27/3200
เฟืองท้าย 3.916 (Auto)
RB 25

ตัวแรงอีกขั้น ที่แตกต่างกันตามรุ่นรถที่วางเครื่องนี้อยู่ มาดูสเปคกัน
RB 25 DE
RB 25 DE
แบบ
6 สูบ DOHC 24 V. แบบ
6 สูบ DOHC 24 V.
ขนาด 2498 ขนาด 2498
ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 71.7 ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 71.7
แรงอัด 10.0:1 แรงอัด 10.0:1
แรงม้า 190/6400 แรงม้า 200/6400
แรงบิด 23.5/4800 แรงบิด 23.5/4800
เฟืองท้าย 3.538 (Auto) เฟืองท้าย 3.538 (Auto)
RB 25 DET
RB 25 DET
แบบ
6 สูบ DOHC 24 V. แบบ
6 สูบ DOHC 24 V.
ขนาด 2498 ขนาด 2498
ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 71.7 ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 71.7
แรงอัด 9.0:1 แรงอัด 10.0:1
แรงม้า 235/6400 แรงม้า 245/6400
แรงบิด 28/4800 แรงบิด 28/4800
เฟืองท้าย 4.083 (Auto) เฟืองท้าย 4.363 (Auto)
สเปค เครื่อง RB 25 ที่ผ่านมานั้น จะผลิตจนถึงต้นปี 1997 หลังจากนั้นจะเริ่มผลิตตัวที่ใช้เทคโนโลยี่ใหม่ที่ชื่อว่า NEO ที่จะช่วยประหยัดน้ำมัน ลดมลพิษ ส่วนใน Skyline มีการปรับปรุงกล่องให้มีแรงม้า แรงบิดเพิ่มขึ้น
RB 25 DE NEO
RB 25 DET NEO
แบบ
6 สูบ D OHC 24 V. แบบ
6 สูบ D OHC 24 V.
ขนาด 2498 ขนาด 2498
ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 71.7 ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 71.7
แรงอัด 10.0:1 แรงอัด 9.0:1
แรงม้า 200/6000 แรงม้า 250/6400
แรงบิด 26/4000 แรงบิด 30/4800
เฟืองท้าย 4.083 (Auto) เฟืองท้าย 4.111(Auto)
RB 25 DET NEO '2000

RB 25 DE
แบบ
6 สูบ D OHC 24 V.
ขนาด 2498
ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 71.7
แรงอัด 9.0:1
แรงม้า 280/6000
แรงบิด 34/3200
เฟืองท้าย 4.083 (Auto)
RB 26 DETT
สุด ยอดเครื่องยนต์ที่ทุกนต้องรู้จักเป็นแน่แท้ ล้ำด้วยเทคโนโลยี่ขับเคลื่อน 4 ล้อ ระบบ ATTESA E-TS ครั้งแรกด้วยการอยู่ในรถ Skyline R 32 GT-R ปี 1989 แล้วก็มีการปรับปรุงกันมาโดยตลอด และเป็นคู่หูของเจ้า ปลายฟ้ามหากาฬ มาตลอด

RB 26DETT
RB 26DETT '2000
แบบ
6 สูบ DOHC 24 V. แบบ
6 สูบ DOHC 24 V.
ขนาด 2568 ขนาด 2568
ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 73.7 ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 73.7
แรงอัด 8.5:1 แรงอัด 8.5:1
แรงม้า 280/6800 แรงม้า 280/6800
แรงบิด 36/4400 แรงบิด 340/4400
เฟืองท้าย 4.111 เฟืองท้าย 3.545 (Auto)

2 ความคิดเห็น:

 
สังคมของคนใช้มอเตอร์ไซด์ออโตเมติก | coyote | car | ฟังเพลงออนไลน์ เนื้อเพลง | free music and music lyrics