วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การติดตั้งเทอร์โบ เพื่อความแรง

สำหรับความแรงที่ต้องการจากเครื่องยนต์นั้น ถ้าต้องการให้ออกมามากๆ ก็ต้องเสียตังค์เยอะหน่อย โดยเฉพาะเครื่องยนต์แบบ N/A ที่ดูแล้วต้องลงเงินมาเป็นพิเศษกว่าจะได้ความแรงออกมามากๆ ส่วนใครอยากแรงทางลัดด้วยงบประมาณที่น้อยกว่าก็ต้องติด “หอย” หรือเทอร์โบชาร์จกัน ยิ่งสมัยนี้เทอร์โบดูจะเป็นที่ต้องการใช้ของวัยแรงเครื่องยนต์เดิม ๆ จึงมักเอาเข้ามาติดเข้าไปทั้งนั้น แม้แต่เหล่าขุนพลตัวแรงสไตล์ N/A อย่างพวกเครื่องยนต์ VTEC ของ HONDA ก็หันมาติดเทอร์โบเพิ่มเข้าไปทั้งนั้น

ประเด็น หลักๆ ของการติดเทอร์โบเข้าไปนอกจากการเลือกขนาดเทอร์โบที่จะใช้ หรือรูปแบบของการติดตั้ง ไม่ว่าจะเป็นแบบดูดหรืออัดก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือ ความละเอียดในการติดตั้ง และคุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมด้วยนั่นแหละ ในการเชื่อมท่อและส่วนประกอบต่างๆ ขึ้นมานั้น เราดูกันได้ตั้งแต่การต่อท่อร่วมไอเสียที่จะต่อให้ไอเสียเป่าเข้าไปยัง เทอร์โบ ซึ่งรอยต่อเชื่อมภายนอกนั้นทุกที่สามารถทำได้สวยเหมือนกันหมดเพราะสามารถ เจียแต่งกันให้เรียบได้ แต่ที่สำคัญคือ รอยต่อของแป็ปภายในชนกันสนิทหรือไม่ นั้นละจุดสำคัญ ส่วนเรื่องต่อไปคือ เศษเหล็กที่ละลายเนื่องจากการเชื่อมในท่อไอเสียเป็นเม็ดกลมเล็กๆ ที่ติดอยู่ภายในท่อรอบจุดที่เชื่อมนั้นต้องสกัดออกให้หมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านก่อนเข้าเสื้อเทอร์โบไอเสียหรือเสื้อเทอร์ไบน์นั่นเอง เพราะความร้อนขณะที่เทอร์โบทำงานเต็มที่นั้น นอกจากเสื้อเทอร์ไบน์จะร้อนจน “แดง” แล้วที่ท่อไอเสียหรือเฮดเดอร์ก่อนเข้าตัวเทอร์โบนี้ก็จะร้อนจน “แดง” เหมือนกัน ซึ่งเศษจากเชื่อมเหล่านี้สามารถจะหลุดออกมาในภายหลังได้ และมันต้องผ่านเข้าไปในเสื้อเทอร์ไบน์ ซึ่งหากเกิดการติดขัดในนั้นจะทำให้ตัวเสื้อสึกหรอหรือผิดปกติได้ ถ้าเป็นด้านไอเสียก็ยิ่งไปกันใหญ่เลย ลองนึกภาพหากมีเศษเหล็กซักเม็ดเล็กๆ เข้าไปในกระบอกสูบจะเป็นอย่างไร “บรรลัยซิครับ”

ต่อไปก็เป็นท่อเสีย ที่ออกจากตัวเทอร์โบ การติดตั้งที่ดีนั้นหากคำนึงถึงความสวยงามภายนอกเป็นสำคัญท่อไอเสียด้านเข้า เทอร์โบอาจดูสวยโค้งได้รูป แต่หากทางออกซึ่งอยู่ติดกับผนังห้องเครื่องด้านข้างหรือด้านหลังนั้นมีผล เสีย เพราะตัวท่อไอเสียก็จะต้องถูกดัดให้กดลงด้านล่างมากๆ ทำให้ไอเสียออกได้ยาก ซึ่งจะมีปัญหาตามมาในภายหลัง ถ้านิดหน่อยก็แค่ม้าหายไปไม่กี่ตัว แต่ถ้าเป็นเครื่องที่ให้แรงม้ามากๆ อาจมีปัญหาความร้อนสะสมในเครื่องยนต์สูงเกินไป เนื่องจากไอเสียออกไม่ทันก็ได้ ส่วนเรื่องของท่อไอเสียต่อไปก็คือ ขนาดของท่อทางด้านออกตั้งแต่หลังหน้าแปลนเทอร์โบเป็นต้นไป ซึ่งที่ถูกแล้วควรจะใช้ขนาดเดียวกับช่องทางออกที่ตัวเทอร์โบเป็นเกณฑ์ เช่น ถ้าที่ตูดเทอร์โบมีรูหรือช่องทางออกโตขนาด 2.5 นิ้ว เราก็ควรใช้ท่อไอเสียขนาดนั้นโดยตลอด และหากเป็นท่อไอเสียที่ใช้ในการแข่งขันของเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1,800 ซีซี ขึ้นไปจนถึง 3,000 ซีซี ก็ควรใช้ขนาดต่ำกว่า 2.5 นิ้ว และท่อในหม้อพักเก็บเสียงก็ต้องเป็นขนาดเดียวกันด้วย ถ้าเป็นเครื่องยนต์ใช้งานทั่วไปเราอาจใช้หม้อพักใบใหญ่แบบไส้ตรงเพียงใบ เดียวก็เพียงพอที่จะเก็บเสียงได้แล้วล่ะ ในกรณีที่ห้องเครื่องมีที่ไม่พอให้ใช้ท่อไอเสียขนาดใหญ่ สามารถทำได้โดยใช้หน้าแปลนและท่อไอเสียทางด้านตัวติดเทอร์โบเป็นขนาดใหญ่ เท่าช่องทางในตัวเทอร์โบ แล้วลดขนาดลงเป็นรูปกรวยหลังจากพ้นปากเทอร์โบมาได้ประมาณ 6 นิ้ว และต่อเป็นท่อขนาดเล็กลงเท่าที่จำเป็นได้โดยไม่เกิดปัญหาอะไร ส่วนด้านไอดีก็เช่นกัน ความสะอาดภายในต้องมาเป็นอันดับแรก และที่สำคัญคือ ต้องพยายามให้ท่อสั้นที่สุด มีจุดหักโค้งน้อยที่สุด และพยายามใช้โค้งรัศมีมากๆ เข้าไว้

ตัวไส้กรองอากาศต้องมีขนาดใหญ่พอ ยิ่งถ้าใหญ่ขึ้นกว่าเดิมได้ยิ่งดี และควรใช้แต่ไส้กรองที่มีคุณภาพเท่านั้น เพื่อความคงทนและประสิทธิภาพการดูดที่ดีที่สุดของเครื่องยนต์ สำหรับเครื่องยนต์ที่มีอินเตอร์คูลควรเลือกใช้ขนาดที่เหมาะสมทั้งด้านขนาด และการติดตั้ง ต้องให้ได้สัดส่วนที่ดี มิฉะนั้นแล้วอาจกลายเป็นเครื่องมือช่วยทอนกำลังเครื่องยนต์ให้ลดลงได้แทนที่ จะดีขึ้น ตำแหน่งที่ติดตั้งอินเตอร์คูลนั้นจะต้องให้มีอากาศเย็นถ่ายเทได้อยู่เสมอ ด้วย โดยพวกกันชนบังไว้ก็ “จบเห่” นะ สายท่อน้ำมันที่ไปเลี้ยงแกนเทอร์ไบน์ของเทอร์โบนั้น หากเป็นไปได้ควรใช้สายชนิดที่เป็นสแตนเลสถักหุ้มรอบจะดีที่สุดตัวสายไหลกลับ ของน้ำมันเครื่องก็ต้องให้มีขนาดโตพอและไม่คดเคี้ยว ถ้าเป็นไปได้ต้องสั้นที่สุด และหากมีการเชื่อมต่อสายไหลหลับเข้ากับอ่างน้ำมันเครื่องแล้ว ควรถอดอ่างมาเชื่อมด้านนอกและถ่ายน้ำมันเครื่องทิ้งทุกครั้ง ส่วนน้ำมันเครื่องต้องใช้แต่ชนิดที่มีคุณภาพสูงเท่านั้น ขืนใช้แบบธรรมดามันจะกลายเป็น “งก” ไม่เข้าเรื่องและที่สำคัญคือ จุที่น้ำมันไหลกลับเข้าสู่อ่างนั้นจะต้องอยู่สูงกว่าระดับน้ำมันเครื่องใน อ่างขณะที่เครื่องยนต์ทำงานอยู่เสมอ หลายคนอาจไม่เชื่อว่าเทอร์โบของคุณอาจชำรุดได้ทันทีที่น้ำมันเครื่องไหลกลับ ไม่ทันและขังอยู่ในด้านไอดีของเสื้อเทอร์โบ เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ติดแล้วไม่ควรเร่งเครื่องทันที ให้ดูรอยรั่วของน้ำมันเครื่องรวนถึงท่อไอดีไอเสียต่างๆ ทั้งหมด แล้วจึงค่อยๆ เร่งรอบเครื่องยนต์ขึ้นไป

ข้อควรระวังสำหรับผู้ใช้ก็ คือ “สมควร” จะใช้น้ำมันเครื่องที่ดีที่สุดเท่าที่จะซื้อมาใช้ได้ โดยที่ไม่ลำบากนัก อย่าเพิ่มบูสท์มากเกินไปแล้วกันโดยเฉพาะพวกเครื่องที่ใช้ไส้ในเดิมๆ อันสุดท้ายก็คือ ถ้าไม่มีออย์คูลเลอร์ดีๆ ติดไว้ด้วยแล้ว ไม่ว่าน้ำมันเครื่องอะไรก็เอาไว้ไม่อยู่ หากคุณแช่รอบเครื่องยนต์ที่บูสท์สูงนานๆ เกิน 3 นาทีก็ไม่ค่อยดีแล้ว ซึ่งในเครื่องยนต์ธรรมดาถ้าแช่กันที่ความเร็วประมาณ 170 กม./ชม. ความร้อนน้ำมันเครื่องจะอยู่ที่ 12 C เมื่อเราลดความเร็วลงสัก 3-4 นาที ความร้อนของน้ำหล่อเย็นจะอยู่ประมาณ 85 ทั้งๆ ที่ความร้อนอขงน้ำหล่อเย็นจะอยู่ที่ประมาณ 8 C ตลอด หากเร่งเครื่องจะขึ้นเร็วพอๆ กับเข็มวัดความเร็วเลยที่เดียว ไม่เชื่อลองติดเกจ์วัดความร้อนน้ำมันเครื่องที่อ่างน้ำมันเครื่องดูด้วยซิ ครับ คุณจะได้ขับรถเป็นมากขึ้นกว่าเดิมเมื่อเห็นเข็มวัดคาวมร้อนของน้ำมันเครื่อง แซงเข็มวัดความเร็วทุกครั้งเมื่อใช้รอบเครื่องยนต์กว่า 5,000 รอบต่อนาทีขึ้นไป แล้วถ้าเป็นเครื่องยนต์ติดตั้งเทอร์โบด้วยความร้อนน้ำมันเครื่องยิ่งสูงใหญ่ เลย

สุดท้ายถ้าติดตั้งเทอร์โบเพื่อเพิ่มความแรงไปแล้ว แต่ไส้ในยังเป็นของเดิมจากโรงงาน กรุณาอย่า “เปรี้ยว” ปรับบูสท์สูงๆ เพราะลูกสูบอาจจะออกมา “นอนยิ้ม” อยู่ข้างนอกเครื่องยนต์ได้ ขอให้สนุกแลปลอดภัยกับการขับรถนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
สังคมของคนใช้มอเตอร์ไซด์ออโตเมติก | coyote | car | ฟังเพลงออนไลน์ เนื้อเพลง | free music and music lyrics