วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับยาง

หลายเรื่องราวเกี่ยวกับรถยนต์ ยังมีความเข้า ใจผิดในวงกว้าง จนบางคนฝังความคิดว่าเป็นหลักการที่ถูกต้องจริงๆ ไปแล้ว
ในโลกการสื่อสารที่ฉับไว ในโลกแห่งเทคโนโลยี ไม่มีคำว่าสายเกินไปหากต้องการลบความเข้าใจผิดเหล่านั้น

ความกว้างของยาง/ความกว้างของหน้ายาง

ความ เข้าใจผิด : บนแก้มยางจะมีการระบุขนาด ต่างๆ ของยางเส้นนั้นไว้อยู่เสมอ สำหรับยางทั่วไปจะมีการระบุรายละเอียดที่คุ้นเคยกันตามตัวอย่าง เช่น 205/60R15
ตัวเลข 3 หลักแรกนี้เองที่หลายคนเข้าใจผิด โดยเข้าใจว่าเป็นความกว้างของหน้ายางที่สัมผัสถนน มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร ในกรณีตัวอย่างนี้ คิดว่ายางเส้นนี้มีหน้ากว้าง 205 มิลลิเมตร

ความ เป็นจริง : ตัวเลข 3 หลักแรกนี้ เป็นความกว้างของยาง ไม่ใช่ความกว้างของหน้ายางที่สัมผัสพื้น วิธีการตรวจสอบง่ายๆ ตัวเลข 3 หลักนี้ ก็คือ นำยางเส้นนั้นใส่กับกระทะล้อที่มีขนาดเหมาะ สมกันตามมาตรฐานที่วงการยางกำหนดและสูบลม วัดความกว้างของยางจากส่วนที่กว้างที่สุด ซึ่งมักจะ เป็นส่วนโค้งของแก้มยางที่ป่องออกมา จากแก้มข้างหนึ่งมายังอีกข้างหนึ่ง โดยวัดรวมทุกอย่างที่กว้าง ที่สุด ถ้าบังเอิญมีตัวอักษรตัวเลขหล่อนูนออกมา ก็ ต้องวัดรวมด้วย แล้วก็จะได้ค่าความกว้างนั้นออกมา

ตัวเลข 3 หลักแรกที่ระบุไว้ เช่น 205 จะเป็นความกว้างของยางในส่วนที่ป่องที่สุด ซึ่งเป็นแก้มยาง ส่วนความกว้างของหน้ายางจริง จะไม่มีการกำหนดไว้ และเท่าที่ทลองวัดดู ก็จะแคบว่าตัวเลขความกว้างของยางที่ระบุไว้ 10-30 มิลลิเมตร

นั่นหมายความว่า สมมุตติยางที่ระบุความกว้าง ไว้เท่ากัน แต่ต่างรุ่นต่างยี่ห้อกัน ความกว้างของยาง บริเวณแก้มจะต้องเท่ากัน แต่ไม่แน่ว่าความกว้างของยางจะต้องเท่ากัน เพราะพบว่ายางรุ่นสปอร์ตหรือเน้นสมรรถนะสูง จะมีความกว้างของหน้ายางใก้ลเคียงกับตัวเลขความกว้างของยางมากกว่ายางรุ่น พื้นๆ สำหรับใช้งานทั่วไป

หากไม่เชื่อบทความนี้ ให้เอาไม้บรรทัดหรือตลับเมตรไปวัดรอยฝุ่นบนหน้ายางได้เลย แล้วจะพบว่า แคบกว่าตัวเลขที่ระบุไว้มาก วัดยังไงก็ไม่เท่ากัน แต่พอเล็งๆ แถวแก้มยาง ก็พบว่ากว้างพอกับตัวเลข 3 หลักแรกที่ระบุไว้จริงๆ

ตัวเลขซีรีส์ ต้องคำนวนก่อน

ความ เข้าใจผิด : จากตัวอย่าง 205/60R15 ตัวเลข 2 หลักชุดที่ 2 คือ 60 หมายถึงซีรีส์ของยาง หลายคนเข้าใจผิดว่า ยางที่มีตัวเลขซีรีส์มาก จะต้องมีแก้มสูงกว่ายางที่มีซีรีส์น้อยกว่าเสมอ

ความเป็นจริง : ตัวเลขซีรีส์ หมายถึง ความสูงของแก้มยางคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของความกว้างของยาง หากต้องการทราบความสูงจริงของแก้มยาง ก็ต้องมีการคำนวณก่อน
จาก ตัวอย่าง ยางเส้นนี้ มีความสูงของแก้มยาง เป็น 60 เปอร์เซ็นต์จากความกว้าง 205 มิลลิเมตร คำนวนโดยนำ 205 X (60/100) = 123 มิลลิเมตร
ถ้าไม่ผ่านการคำนวณ จะสรุปลอยๆ ไม่ได้ว่า ยางซีรีส์ 65 จะมีแก้มยางจริงสุงกว่ายางซีรีส์ 60 หากมีความกว้างของยางต่างกัน

เช่น ยาง 205/60R13 มีแก้มสูง 205 X (60/100) = 123 มิลลิเมตร ส่วนยาง 185/65R13 มีแก้ม สูง 185 X (65/100) = 120.25 มิลลิเมตร มีแก้มจริงเตี้ยกว่าทั้งที่มีตัวเลขซีรีส์เป็น 65 มากกว่าเส้นแรกอยู่ 5 ซีรีส์

ถ้าจะเดาความสูงของแก้มยาง ก็ต้องดูตัวเลข 3 หลักแรกความกว้างของยางด้วย แต่ถ้าจะให้แม่นยำก็ต้องนำไปคำนวณก่อน

ยางที่ใช้กับกระทะล้อขอบใหญ่กว่า ยางต้องใหญ่กว่า

ความ เข้าใจผิด : ในกรณีที่จะเปลี่ยนล้อแม็กให้มีขาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ขึ้น ตามสไตล์ล้อแม็กวงโต+ยางแก้มเตี้ย เช่น ล้อเดิมขอบ 14 นิ้ว จะเปลี่ยนเปลี่ยนเป็นขอบ 16 นิ้ว หลายคนเข้าใจผิด โดยรีบสรุปว่ายางที่ใช้กับกระทะล้อขอบ 16 นิ้ว ต้องมีขนาดใหญ่กว่ายาง 14 นิ้ว ไปมองไปอิงกับตัวเลขขอบกระทะล้อทั้งที่นั่นคือ วงในของยาง ไม่ใช่วงนอก

ความเป็นจริง : ยางจะมีเส้นรอบวงมากหรือมีความสูงโดยรวมเท่าไร ไม่เกี่ยวกับขนาดของกระ ทะล้อหรือเรียกกันว่าขอบกี่นิ้วนัก เพราะต้องขึ้นอยู่กับความสูงของแก้มยาง ซึ่งก็ขึ้นกับความกว้างและซีรีส์นั่นเอง

ยางขอบ 17 นิ้ว ซีรีส์น้อยแก้มเตี้ยบางเฉียบ อาจจะมีเส้นรอบวงน้อยและมีความสูงโดยรวมน้อย กว่ายางขอบ 14 นิ้ว ซึ่งมีซีรีส์มากและแก้มสูงก็เป็นได้

ยางเปอร์เซ็นต์ เมินได้เลย

ความ เข้าใจผิด : เป็นที่เข้าใจว่า ยางเปอร์เซ็นต์ คือ ยางมือสอง คนส่วนใหญ่มองว่าเมินยางเปอร์ เซ็นต์ไปได้เลย เพราะคิดว่าล้วนเป็นยางมือสองที่ได้มาจากเจ้าของเดิมถอดทิ้งหรือถอดขายให้ ร้านในราคา
ถูกๆ เพื่อเป็นส่วนลดในการซื้อยางใหม่ ยางจึงน่าจะหมดสภาพแล้ว หากฝืนซื้อมาใช้งานต่อก็จะเสี่ยงต่ออันตราย

ความ เป็นจริง : ยางเปอร์เซ็นต์หลายสิบเปอร์เซ็นต์ที่ขายอยู่ทั่วไป เกือบหมดสภาพแล้วจริงๆ หากใครซื้อมาใช้ก็เสี่ยงอันตราย แต่ไม่ใช่ว่าทุกเส้นจะไม่น่าสนใจ
เพราะในกรณีที่เป็นยางซึ่งถูก เปลี่ยน เพราะเจ้าของอยากเปลี่ยนขนาดยางหรือล้อแม็ก ทั้งที่ยังไม่หมดสภาพ ยางเปอร์เซ็นต์เส้นนั้นก็ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ บางครั้งรถป้ายแดงขับออกมาจากโชว์รูมได้ไม่กี่วัน ก็เปลี่ยนยางเดิมออกแล้ว หรือใช้ยางเดิมได้ไม่กี่เดือน ก็อยากเปลี่ยนล้อแม็กวงโต+ยางแก้มเตี้ยตามแฟชั่น ก็อาจจะถอดยางชุดเดิมขายลดราคากับทางร้านหรือประกาศขายเองเป็นยาง เปอร์เซ็นต์

บางครั้งยางก็ถูกเปลี่ยนออก เพราะความหวาดกลัวเกินไป ทั้งจากตัวเองหรือคำแนะนำที่ผิดๆ ว่ายางรถยนต์ใช้ได้แค่ 2 ปี หรือไม่เกิน 40,000 กิโลเมตร ทั้งที่ความจริงใช้ได้นานกว่านั้น ยางชุดนั้นจึงยังไม่หมดสภาพแต่กลับถูกเปลี่ยนออก ซึ่งเมื่อนำออกขายเป็นยางเปอร์เซ็นต์ ภสพาจึงยังดีอยู่ และสามารถใช้ต่อได้อีก

การเลือกใช้ยางเปอร์เซ็นต์ หากดูอย่างละเอียด รอบคอบ และเลือกยางที่ไม่ได้ถูกเปลี่ยนเพราะหมด สภาพ โดยเฉพาะยางที่ถูกเปลี่ยนเพราะเจ้าของเดิม อยากเปลี่ยนขนาด บางครั้งก็น่าสนใจ

เปลี่ยนยางทิ้งเร็วเกินไป

ความเข้าใจ ผิด : คนส่วนใหญ่เชื่อและได้รับ คำแนะนำที่ผิดๆ ว่ายางรถยนต์ต้องเปลี่ยนตามระยะทางเท่านั้นเท่านี้ หรือไม่เกินกี่ปีต้องเปลี่ยนออก แม้ว่าดอกยังไม่หมด หรือยังดูดีอยู่ก็ต้องเปลี่ยนออก หลายคนเชื่อปักใจ เพราะหวาดระแวงกลัวยางระเบิดแล้วอันตราย

ความเป็นจริง : จริงอยู่หากยางระเบิดแล้วจะเสี่ยงต่ออุบัติเหตุหรือความยุ่งยาก ต้องเปลี่ยนยางกลางทาง แต่การใช้อะไรแล้วเปลี่ยนทิ้งทั้งที่ยังไม่หมดสภาพ เสียดายทั้งเงินทั้งทรัพยากรของโลกที่ต้องเสียไปด้วยความหวาดระแวง

ผู้ ผลิตยางรถยนต์ส่วนใหญ่ แม้ว่าอยากจะขายยางเส้นใหม่เร็วๆ ก็ยังไม่เคยมีคำแนะนำให้เปลี่ยนยางเมื่อครบ 3 ปี หรือเมื่อเกิน 50,000 กิโลเมตรหรือต่ำกว่านั้นเลย มีแต่การแนะนำว่า สามารถใช้งานได้จนดอกจะสึกถึงสัญลักษณ์ที่จุดลึกสุดของร่องยาง และถ้าดอกยังไม่หมด หากดูแล้วไม่มีการแตกร้าวปริบวม ก็สามารถใช้ต่อได้จนดอกสึกถึงระยะข้างต้น โดยไม่จำกัดปีที่ใช้

ค้น หาทั้งจากเอกสารหรือถามจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของผู้ผลิตยางโดยตรง ก็บอกอย่างนี้ทั้งนั้น พอถามแบบกลางๆ ว่า งั้นของคำตอบที่คนทั่วไปอยากทราบได้ไหม เขาก็บอกว่า 3 ปี หรือ 40,000 กิโลเมตร หากดอกยังไม่หมด ยางส่วนใหญ่ (หากยางเส้นนั้นไม่ได้ใช้งานหนักบนทางวิบาก หรือได้รับการกระแทกบ่อย) น่าจะยังไม่หมดสภาพ และน่าจะใช้ได้อีกไม่น้อยกว่า 1-2 ปีขึ้นไป หรืออีกหลาย หมื่นกิโลเมตร และพอถามย้ำอีก เขาก็บอกว่า ประ มาณว่าถ้าดอกไม่หมดยางน่าจะใช้ได้เกิน 60,000 กิโลเมตรหรือแถวๆ 5 ปีได้สบาย และก็บอกทิ้งท้ายว่า ถ้าดอกไม่หมด และดูสภาพแล้วยังปกติ ก็ยังใช้ต่อได้อีก

ขนาดฝ่ายผู้ผลิตที่อยากขายยางใหม่ให้ได้มากๆ ยังมีคำแนะนำให้ใช้งานได้นานกว่าความเชื่อของคนทั่วไป ดังนั้นก่อนที่จะเปลี่ยนยางใหม่ ก็ควรแน่ใจว่ายางเส้นเดิมหมดสภาพและไม่น่าเสี่ยงใช้งานต่อแล้ว ไม่ใช่เปลี่ยนเพราะความหวาดระแวง ทั้งที่เพิ่งผ่านการใช้งานเกินครึ่งมาไม่เท่าไร

ยางเก่าเก็บไม่น่าสน

ความ เข้าใจผิด : เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ยางรถยนต์ที่ถูกเก็บสต็อกไว้ สามารถหมดสภาพได้ แม้จะยังไม่เคยใช้งานก็ตาม แต่ตัวเลขจำนวนเดือนปีที่จะถือว่าไม่น่าซื้อใช้ของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนตั้งใจว่า ผลิตเกิน 3 เดือนจะไม่ซื้อ บางคน 6 เดือน หรือบางคน 1 ปีกว่าๆ ยังรับได้ ความเข้าใจผิดก็คือ คนที่หวาดระแวงเกินเหตุ เก็บเกิน 3-6 เดือนไม่เอาแล้ว ทำเป็นว่ายางรถยนต์จะเน่าง่ายๆ แบบขนมเค้กหรือต้องรอของที่อบเสร็จกันหน้าเตาเลย

ความเป็นจริง : ข้อมูลจากผู้ผลิตยางรถยนต์ หากเก็บโดยไม่โดนความร้อนจัดเย็นจัด ไม่ถูกสารเคมี และจัดวางอย่างเหมาะสม จะสามารถเก็บ สต็อกได้นานถึงกว่า 5 ปีก็ยังมี โดยไม่เสื่อมสภาพ สามารถนำมาใช้งานได้

ส่วนที่ตั้งแง่ ว่าเกิน 3-6 เดือนจะไม่ซื้อ สงสัยต้องตระเวนหากันเหนื่อย ถ้ามีคนเข้าใจผิดกันมากๆ สงสัยอีกหน่อยต้องเหนื่อยไปดักซื้อหน้าโรงงานกันเลย ผลิตมาเก็บไว้ หากขายไม่ดี เกิน 6 เดือนแล้วจะขายไม่ออก

ถ้าคิดว่าคำแนะนำนั้น เป็นเพราะกลัวขายยางเก่าเก็บไม่ได้ ก็ย้อนไปอ่านกรณีที่แนะนำอายุการใช้งานของยาง ก็ยาวนานเช่นเดียวกัน ในฐานะของผู้บริโภคลดลงมาเหลือ 3 ปีก็คงรับได้ จึงสรุปว่า ยางรถยนต์ที่ถูกเก็บไว้ไม่เกิน 3 ปี ยังสามารถซื้อมาใช้งานได้ตามปกติโดยไม่ต้องกังวลอะไร หรือถ้ายังกลัว ก็สักไม่เกิน 2 ปียังรับได้ แต่ถ้าวิตกจริต เก็บมาแถวๆ ไม่เกิน 1 ปี หรือเกินเล็กน้อย ก็คงสบายใจได้

ยางดอกหมดลื่น

ความเข้า ใจผิด : ยางดอกหมดหรือยางหัวโล้น จะลื่น นึกไปถึงหัวคนว่าโล้นแล้วต้องลื่น ถ้าจะให้ถูกต้อง ต้องบอกว่าลื่นบนถนนเปียก แต่บนถนนแห้งจะเกาะถนนดีกว่าบางมีดอกลึก

ความเป็นจริง : ยางรถยนต์เกาะถนนได้โดยหน้าสัมผัสซึ่งทำหน้าที่เป็นเฟืองยางขนาดจิ๋วถี่ๆ ผังลงไปบนพื้นถนน ยิ่งมีหน้าสัมผัสมากก็ยิ่งมีเฟืองมาก เกาะถนนได้ดี ส่วนร่องยางที่มีนั้นเตรียมไว้ให้รีดน้ำออกจากหน้าสัมผัสของยาง หรือให้น้ำแทรกตัวเข้าไปอยู่ชั่วคราวได้

ร่องยางส่วนใหญ่ไม่ได้ เป็นทรงตัว U แต่เป็น กึ่งตัว V ปากร่องกว้างกว่า ยอดของแท่งดอกยางจึงแคบกว่า เมื่อยางสึกลงไปร่องตื้นหรือเกือบหมด หน้าสัมผัสยางจึงมีมากที่สุด เพราะฐานของแท่งดอกยางกว้างกว่าตอนที่ยังไม่สึกมาก หากเนื้อยางยังไม่แข็งมาก ยางที่ดอกเกือบหมดหรือหมด แต่ยัง ไม่ทะลุ จะเกาะถนนแห้งได้ดีกว่ายางมีดอกมีร่องลึก เพราะเรื่องพื้นที่ของหน้าสัมผัสที่แตกต่างกัน แต่จะลื่นกว่าเมื่อเจอถนนเปียก เพราะไม่มีร่องยางช่วยรีดน้ำ หน้ายางจะมีชั้นฟิล์มของน้ำคั่นอยู่ จะสัมผัสถนนไม่เต็มที่ ดังนั้นถ้าจะบอกว่ายางหัวโล้นขับแล้วลื่น ต้องระบุด้วยว่าบนถนนแห้งหรือเปียก

ยางนอกดีกว่า

ความเข้าใจผิด : หลายคนยังเข้าใจว่ายางที่ผลิตจากนอกหรือต่างประเทศจะมีคุณภาพดีกว่ายางไทย

ความ เป็นจริง : ไม่ว่าจะผลิตจากประเทศใด หากมองถึงคุณภาพ ก็ต้องว่ากันเป็นรุ่นๆไป จะบอก ไม่ได้ว่ายางญี่ปุ่นดีกว่าไทย ยางไทยดีกว่ายางมาเล-เซีย โลกเทคโนโลยีเชื่อมกันแล้ว การถ่ายทอดการพัฒนาการผลิตล้วนทำได้ถ้าตั้งใจจะทำ

ยางนอกเก่าเก็บ

ความเข้าใจผิด : คิดว่าต้องขนส่งทางเรือมา ข้ามน้ำข้ามทะเลมา กว่าจะเอามาจากโรงงาน ขนขึ้นและเดินทางในเรือ ออกจากไทย คงเก่าเก็บมาก

ความ เป็นจริง : หากมีการจัดการที่ดี รวมเวลา ทุกขั้นตอน ไม่ว่านำยางมาจากประเทศใด รวมขน ส่งถึงร้านยางทั่วไปในไทย ไม่น่าใช้เวลาเกิน 1 เดือน บางยี่ห้อคุยว่าครึ่งเดือนก็ถึงแล้วในกรณีที่นำเข้าจากญี่ปุ่น ซึ่งก็จริงเพราะใช้เวลาเดินเรือไม่กี่วันเท่านั้น ส่วนการขาขึ้นเรือหรือขนออกจากท่าเรือ ก็ใช้เวลาขั้นตอนละ 1-2 วันเท่านั้น

ยางยี่ห้อไม่ดัง คุณภาพต่ำ

ความเข้าใจผิด : ถ้าไม่ใช่ยี่ห้อดังติดหัวแถว คุณภาพจะต่ำ อีกทั้งยังเปรียบเทียบจากราคาที่ถูกกว่าของยี่ห้องดังๆ ก็เดาไปว่าของถูกแต่ดีไม่มีในโลก

ความเป็นจริง : ยางรถยนต์ไม่ได้มีแค่ 2 ยี่ห้อ และยี่ห้อที่ไม่ดัง ก็อาจมีคุณภาพดีใช้ได้ เพียงแต่ไม่ติดกระแสหรือไม่โหมโฆษณามาก ทั้งที่คุณภาพดี แต่แพ้กระแสความเชื่อ และไม่ต้องเสียค่าโฆษณามาก ก็เลยตั้งราคาได้ต่ำ หากเลือกอย่างรอบคอบ ก็อาจจะได้ยางคุณภาพดีราคาถูกก็เป็นได้

ซื้อยางในศูนย์บริการเร่งด่วนถูกกว่า

ความ เข้าใจผิด : มีการเปิดศูนย์บิการซ่อมรถยนต์แบบเร่งด่วนหลายสาขาหลายที่ และมักจะเน้นการขายยางรถยนต์ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่มีการแข่งขันมากมาย มียางให้เลือกหลายยี่ห้อและจัดข้อเสนอพิเศษมากมาย ทั้งลดราคาทั้งแถม ซื้อ 3 แถม 1 หรืออะไรอีกสารพัด หลายคนจึงคิดว่า จะมีราคาถูกกว่าร้านยางห้องแถวทั่วไป

ความเป็นจริง : เท่าที่เคยตรวจสอบราคา พบว่ามีน้อยครั้งมากที่จะมีราคาจริงในการซื้อยางถูกกว่าการซื้อยางตามร้าน ทั่วไป น่าแปลกทั้งที่สั่งซื้อยางในจำนวนมากกว่า แต่ทำไมขายถูกกว่าไม่ได้ คงเป็นเพราะค่าลงทุนด้านสถานที่และเครื่องมือมากกว่านั่นเอง

ปะยาง แบบยิงยางเส้นอุด รั่วง่าย

ความ เข้าใจผิด : ทั้งคำแนะนำจากร้านปะยางหรือดูด้วยสายตา ก็ชวนให้คิดว่าการปะยางแบบยิงยางเส้นเข้าไปเบ่งตัวในรูรั่วน่าจะมีโอกาสรั่ว แบบซึมๆ ได้ในบางครั้ง หรือเมื่อใช้ไปนานๆ เพราะไม่มีการปะแบบอุดกาวหรืออัดแน่นให้เป็นชิ้นเดียวกันแต่อย่างไร

ความ เป็นจริง : น่าแปลกที่ผู้ผลิตยางแนะนำการปะยางแบบนี้เป็นมาตรฐาน และไม่แนะนำการปะยางแบบสตีมอัดทับรูรั่วด้วยยางแผ่นและความร้อน เพราะจะทำให้ยางแข็งหรือบวมได้ สวนทางกับร้านปะยางที่พยายามจะให้ปะแบบสตีม ที่ทำเงินได้มากกว่า และดูแน่นหนากว่า

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

SUBARU รายละเอียดเครื่องยนต์

รุ่น จำนวนสูบ แบบฝาสูบ กระบอกสูบxช่วงชัก ความจุ แรงม้า แรงบิด หมายเหตุ
EG 33 6 DOHC 24 V. 96.9x75 3318 CC. 240/6000 31.5/4800 4WD SVX
EJ 25 4 DOHC 16 V. 99.5x79 2457 CC. 175/6000 23.5/3800 4WD LEGACY'98
EJ 25 4 DOHC 16 V. 99.5x79 2457 CC. 167/6000 24/2800 LEGACY WAGON/ LANCASTER
,FORESTER
EJ 25 4 DOHC 16 V. 99.5x79 2457 CC. 160/6000 21.5/3800 4WD LEGACY'96
EJ 22 T 4 DOHC 16 V. 96.9x75 2200 CC. 280/6500 37/4000 4WD IMPREZA
EJ 20 T 4 DOHC 16 V. 92x75 1997 CC. 280/6500 36/4000 4WD IMPREZA WRX STi
EJ 20 T 4 DOHC 16 V. 92x75 1997 CC. 275/6500 36.2/5000 4WD IMPREZA WRX'96
EJ 20 T 4 DOHC 16 V. 92x75 1994 CC. 260/6000 32.5/5000 LEGACY B4 RSK, IMPREZA
EJ 20 T 4 DOHC 16 V. 92x75 1997 CC. 260/6500 31.5/5000 4WD IMPREZA WRX'96
EJ 20 T 4 DOHC 16 V. 92x75 1997 CC. 240/6000 31.5/4000 4WD IMPREZA WAGON WRX,FORESTER
EJ 20 T 4 DOHC 16 V. 92x75 1997 CC. 240/6000 31/5000 4WD IMPREZA WRX'93
EJ 20 T 4 DOHC 16 V. 92x75 1997 CC. 210/6000 26.5/4000 4WD IMPREZA
EJ 20 4 DOHC 16 V. 92x75 1994 CC. 155/6400 20/3200 LEGACY B4 RS,IMPREZA SRX ,LEGACY WAGON
EJ 20 4 DOHC 16 V. 92x75 1997 CC. 150/6400 18.5/4800 IMPREZA
EJ 20 4 OHC 16 V. 96.9x75 1994 CC. 137/5600 19/3600 LEGACY WAGON
,FORESTER
EJ 20 4 DOHC 16 V. 96.9x75 2200 CC. 135/6000 19.5/3000 4WD LEGACY'93
EJ 20 4 SOHC 16 V. 92x75 1997 CC. 125/5500 17.5/4500 IMPREZA
EJ 18 4 OHC 16 V. 87.9x75 1820 CC. 115/5200 17/3600 IMPREZA WAGON
EJ 18 4 SOHC 16 V. 87.9x75 1820 CC. 110/6000 15.2/3200 4WD
EJ 16 4 SOHC 16 V. 87.9x65.8 1597 CC. 100/6000 14.1/4500 ---
EJ 15 4 OHC 16 V. 85x65.8 1493 CC. 95/5200 14.3/3600 IMPREZA SEDAN/WAGON

MAZDA Spec

รุ่น จำนวนสูบ แบบฝาสูบ กระบอกสูบxช่วงชัก ความจุ แรงม้า แรงบิด เฟืองท้าย ขับเคลื่อน เกียร์ หมายเหตุ
JZ GE V6 DOHC 24 V. 90x77.4 2954 CC. 205/6000 27.7/3500 4.100 FR 4 AT SENTIA,929
JZ E V6 SOHC 12 V. 90x77.4 2954 CC. 160/5500 25/2500 3.909 FR 4 AT SENTIA,929
KJ ZEM V6 DOHC 24 V. 80.3x77.4 2254 CC. 220/5500 30/3500 3.805 FF 4 AT MILLENIA
KL ZE V6 DOHC 24 V. 84.5x74.2 2496 CC. 200/6500 22.8/4800 4.375 FF 4 AT MILLENIA,CAPELLA
KF ZE V6 DOHC 24 V. 78x69.6 1995 CC. 160/6500 18.3/5500 4.388 FR 5 MT MILLENIA
FS ZE 4 DOHC 16 V. 83x92 1991 CC. 170/6800 18.4/5000 3.823 FF 5 MT CAPELLA,626 1998
FS DE 4 DOHC 16 V. 83x92 1991 CC. 140/6300 18.2/4800 3.823 FF 5 MT CAPELLA
FP DE 4 DOHC 16 V. 83x85 1839 CC. 135/6200 16.5/4500 FAMILIA,PREMACY
FP DE 4 DOHC 16 V. 83x85 1839 CC. 125/6000 16.3/4500 4.105 FF 5 MT 626 1996,CAPELLA
FP DE 4 DOHC 16 V. 83x85 1839 CC. 125/6000 16.3/4500 4.105 FF 5 MT 626 1996,CAPELLA
FP DE 4 DOHC 16 V. 83x85 1839 CC. 115/5500 16/4500 3.850 FF 5 MT 626 1996,CAPELLA
ZL VE 4 SOHC 78x78.4 1498 CC. 130/7000 14.4/4000 FAMILIA
ZL DE 4 SOHC 78x78.4 1498 CC. 110/6000 14/4000 FAMILIA
RF 4 SOHC 8 V. 86x86 1998 CC. 70/4650 13.2/2500 FAMILIA
F8 4 SOHC 86x77 1789 CC. 92/6000 13.9/3500 626 1985
FE 4 SOHC 86x86 1998 CC. 120/5500 17/3000 ---
FE E 4 SOHC 86x86 1998 CC. 105/5000 16.5/5000 BONGO
FE T 4 SOHC Turbo 86x86 1998 CC. 145/5000 22/3000 ---
BP ZE 4 DOHC 16 V. 83x85 1839 CC. 145/6500 16.6/5000 ROADSTER
B6 ZE 4 DOHC 16 V. 78x83.6 1597 CC. 125/6500 14.5/5000 ROADSTER
BP ZE 4 DOHC 83x85 1839 CC. 135/7000 16/4500 4.105 FF 5 MT 323 1996
BP BE 4 DOHC 78x83 1597 115/6000 14.5/3500 4.105 FF 5 MT 323 1996
BP T 4 DOHC Turbo 83x85 1839 CC. 180/6000 24.2/3000 ---
B5 ME ME 4 OHC 16 V. 78x78.4 1498 CC. 100/6000 13/4500 DEMIO
B3 ME 4 DOHC 16 V. 71x83.6 1323 CC. 85/6000 11.2/4000 FAMILIA
B3 ME ME 4 OHC 16 V. 71x83.6 1323 CC. 83/6000 11/4000 DEMIO
E3 4 SOHC 77x69.6 1296 CC. 68/5800 9.7/3800 323 XG 1985
F6 4 SOHC 81x77 1296 CC. 81/5500 12.2/3800 626 1985
F6 A 3 OHC 12 V. 65x66 657 CC. 46/5800 5.8/4500 CAROL
F6 A 3 SOHC 12 V. 65x66 657 CC. 60/6000 8.5/4000 LAPUTA
13B REW T ROTARY --- --- 654x2 CC. 280/6500 32/5000 RX 7
13B REW T ROTARY --- --- 654x2 CC. 255/6500 30/5000 RX 7
J5 D V6 DOHC 82.7x77.4 2494 CC. 160/6000 21.5/3500 BONGO
WL T 4 OHC 93x92 2499 CC. 125/4000 30/2000 BONGO DIESEL
FS 4 DOHC 16 V. 83x92 1991 CC. 135/6000 18/4000 MPV
GY V6 DOHC 24 V. 81.6x79.5 2494 CC. 170/6250 21.1/5000 MPV
K6 A T 3 DOHC 12 V. 68x60.4 1658 CC. 64/6500 10.8/3500 AZ,LAPUTA
Z5 DE 4 DOHC 16 V. 75.3x83.6 1489 CC. 97/5500 13.5/4000 4.105 FF 5 MT 323 1996
W9 4 OHC 12 V. 95 x 102 2892 CC. 63/4000 20.07/2500 Fighter 2000
RENESIS ROTARY - - 654CC.x2 250/8500 22/5500 RX-8
20 B 3 ROTER - 654x3 280/6500 41/3000 3.909 FR 4 AT COSMO
13 B REW 2 ROTER - 654x2 265/6500 30/5000 4.100 FR 5 MT RX 7 1997
13 B REW 2 ROTER - 654x2 265/6500 30/5000 3.909 FR 4 AT RX 7 1997
13 B REW 2 ROTER - 654x2 255/6500 30/5000 4.100 FR 5 MT RX 7 1996
13 B REW 2 ROTER - 654x2 255/6500 30/5000 3.909 FR 4 AT RX 7 1996

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

HONDA SPEC

B16A VTEC
1988-1993 JDM Honda Integra RSi/XSi (DA6/DA8)
1989-1991 JDM Honda CRX SiR (EF8)
1989-1991 JDM Honda Civic SiR (EF9)
ขนาด ของ เครื่อง/: 1595 cm?
แรงอัด 10.2:1
แรงม้า: 158 hp @ 7600 rpm & 111 ft•lbf @ 7000 rpm
กล่องเกียร์: S1/J1/Y1/YS1
1992-1995 JDM Honda Civic SiRII (EG6/EG9)
ขนาด ของ เครื่อง/: 1595 cm?
แรงอัด 10.4:1
แรง ม้า: 170 hp @ 7800 rpm & 116 ft•lbf @ 7300 rpm
กล่องเกียร์: S4C
1992-1996 JDM Honda CR-X del Sol SiR
ขนาด ของ เครื่อง/: 1595 cm?
แรงอัด 10.4:1
แรง ม้า: 158 hp - 167 hp & 111 ft•lbf - 116 ft•lbf
B16A1 VTEC
1990-1991 EDM Honda CRX 1.6i-VT (EE8)
1990-1991 EDM Honda Civic 1.6i-VT (EE9)
ขนาด ของ เครื่อง/: 1595 cm?
กระบอกสูบ?: 81.0?77.4 mm / 3.19?3.05 in
แรงอัด 10.2:1
แรง ม้า: 150 hp @ 7600 rpm
กำลังบิด : 144 N•m / 106 lbf•ft @ 7100 rpm
กล่องเกียร์: Y2
B16A2 VTEC
1992-2000 Honda Civic EDM VTi (EG & EK)
ขนาด ของ เครื่อง/: 1595 cm?
แรงอัด 10.2:1
แรง ม้า: 158 hp @ 7600 rpm & 111 ft•lbf (151 N•m) @ 7000 rpm
กล่องเกียร์: Y21
1999-2000 Honda Civic Si (EM1)
ขนาด ของ เครื่อง/: 1595 cm?
แรงอัด 10.2:1
แรง ม้า: 160 hp (118 kW) @ 7600 rpm & 111 ft•lbf (151 N•m) @ 7000 rpm
กล่องเกียร์: Y21 S4C
กระบอกสูบ: 81mm
B16A3
VTEC
1994-1995 Honda Del Sol VTEC (EG)
ขนาด ของ เครื่อง/: 1595 cm?
แรงอัด 10.2:1
แรง ม้า: 158 hp (118kW) @ 7600 rpm & 111 ft•lbf (151 N•m) @ 7000 rpm
กล่องเกียร์: Y21
B16A4 VTEC
1996-2000 Honda Civic SiRII (Asian version) (EK)
ขนาด ของ เครื่อง/: 1595 cm?
แรงอัด 10.4:1
แรง ม้า: 170 hp (127kW) @ 7800 rpm
กล่องเกียร์: Y21 S4C
B16A6 VTEC
1996-2000 Honda Civic - South Africa VTEC (EK)
ขนาด ของ เครื่อง/: 1595 cm?
แรงอัด 10.2:1
แรง ม้า: 158 hp (118 kW) @ 7600 rpm & 111 ft•lbf (151 N•m) @ 7000 rpm
กล่องเกียร์: Y21
B16B VTEC
1997-2000 Civic Type R[EK9]
ขนาด ของ เครื่อง/: 1595 cm?
แรงอัด 10.8:1
กระบอกสูบ: 81mm
แรง ม้า: 185 hp (137 kW) @ 8200 rpm & 118 ft•lbf (160 N•m) @ 7500 rpm
กล่องเกียร์: S4C With LSD
B17 B17A1
VTEC
1992-1993 Integra GS-R (DB2)
ขนาด ของ เครื่อง/: 1678 cm?
กระบอกสูบ: 81mm
แรงอัด 9.7:1
แรง ม้า: 160 hp @ 7600 rpm & 117 ft•lbf (159 N•m) @ 7000 rpm
กล่องเกียร์: Cable~ YS1
B18
B18A
1986-1989 Accord Aerodeck LXR-S/LX-S (Japan)
1986-1989 Accord EXL-S/EX-S (Japan)
1986-1989 Vigor MXL-S (Japan)
ขนาด ของ เครื่อง/: 1834 cm?
แรงอัด 9.4:1
กระบอกสูบ: 81 mm
แรง ม้า: 160 hp (97 kW) @ 6100 rpm แรงอัด 128 ft•lbf (164 N•m) @ 4700 rpm
กล่องเกียร์: A2N5, E2N5
[] B18A1
USDM DA9
1990-1993 Acura Integra usdm "RS/LS/GS"
ขนาด ของ เครื่อง/: 1834 cm?
แรงอัด 9.2:1
กระบอกสูบ: 81 mm
แรง ม้า: 90-91 Only: 130bhp @ 6000 rpm & 121ft/lb @ 5000 rpm
แรง ม้า: 92-93 Only: 140bhp @ 6300 rpm & 127ft/lb @ 5000 rpm
กล่องเกียร์: 90-91: S1, cable
กล่องเกียร์: 92-93: YS1, cable
[] B18B1
1994-2001 Acura Integra "RS/LS/GS" (DC4/DB7)
ขนาด ของ เครื่อง/: 1834 cc
แรงอัด 9.2:1
กระบอกสูบ: 81 mm
แรง ม้า:
? 142 hp @ 6300 rpm & 127 ft•lbf @ 5200 rpm
กล่องเกียร์: Y80/S80
[] B18C
VTEC
JDM Honda Integra SiR-G
แรง ม้า:
180 hp @ 7,600 rpm
Rev-limit: 8,200 rpm
130 ft•lbf @ 6,200 rpm
กล่องเกียร์ Type: 5-speed standard with optional LSD
ขนาด ของ เครื่อง/: 1797 cm?
แรงอัด 10.6:1
กระบอกสูบ: 81 mm (3.189")
กล่องเกียร์: S80, Y80, S80 w/LSD, Y80 w/LSD
[] B18C (Type R)
VTEC
JDM Honda Integra Type R
แรง ม้า:
200 hp @ 8,500 rpm
Rev-limit: 8,700 rpm
130 ft•lbf @ 7,300 rpm
กล่องเกียร์ Type: 5-speed standard with LSD
ขนาด ของ เครื่อง/: 1797 cm?
แรงอัด 11.1:1
กระบอกสูบ: 81 mm (3.189")
: 87.2 mm (3.433")
Rod Length: 137.9 mm (5.429")
Rod/ Ratio: 1.58
กล่องเกียร์: J4D (96specR w/ LSD) N3E (98specR w/LSD)
[] B18C1
VTEC
1994-2001 Honda/Acura Integra GS-R (DC2 & DB8)
ขนาด ของ เครื่อง/: 1797 cm?
แรงอัด 10.0:1
กระบอกสูบ: 81 mm (3.189")
: 87.2 mm (3.433")
Rod Length: 137.9 mm (5.429")
Rod/ Ratio: 1.58
แรง ม้า:
แรง ม้า: 170 hp (127 kW) @ 7600 rpm & 128 ft•lbf (173 N•m) @ 6200 rpm
กล่องเกียร์: Y80
[] B18C2
VTEC
1994-1999 Honda Integra VTi-R
AUDM Spec 1993-1999 Honda Integra VTi-R
ขนาด ของ เครื่อง/: 1797 cm?
แรงอัด 10.6:1
แรง ม้า: 167 hp (125 kW) @ 7300 rpm
กำลังบิด : 128 ft•lbf (175 N•m) @ 6200 rpm
RPM : 8100rpm
Fuel Cut: 8300rpm
กล่องเกียร์: Y80 (No LSD) 5-Speed Manual Transaxle
0/100km/h : <7.3 seconds
[] B18C3
VTEC
1995-1998 Acura Integra Type R
แรง ม้า: 193ps/189hp (141 kW) @ 8200 rpm & 127 ft•lbf/172 N•m @ 7500rpm
[] B18C4
VTEC
1996-2000 UK Civic 1.8i VTi 5-door Hatch
1996-2000 UK Civic Aerodeck 1.8i VTi 5-door Wagon
1998-1999 EU Civic Aerodeck 1.8i VTi 5-door Wagon
1998-1999 EU Civic 1.8i VTi 5-door Hatch
ขนาด ของ เครื่อง/: 1797 cm?
แรงอัด 10.0:1
แรง ม้า: 169 hp (124 kW) @ 8200 rpm & 117 ft•lbf (158 N•m) @ 6200 rpm
กล่องเกียร์: S9B
0/100km/h : 8.3 seconds (8.8 Aerodeck)
[] B18C5
VTEC
USDM DC2 Acura Integra Type-R (Integra Type-R)
1997-2001 Integra Type-R
ขนาด ของ เครื่อง/: 1797 cm?
แรงอัด 10.6:1
กระบอกสูบ: 81 mm (3.189")
: 87.2 mm (3.433")
Rod Length: 137.9 mm (5.429")
Rod/ Ratio: 1.58
แรง ม้า: 193 ps/189 hp (141 kW) @ 8200 rpm & 127 ft•lbf/172 N•m @ 7500rpm
กล่องเกียร์: S80 w/LSD
[] B18C6
VTEC
1998-2001 Honda Integra UK and Euro Spec Type R
Type: 1.8 litre 16v DOHC 4 cylinder in-line
ขนาด ของ เครื่อง/: 1797 cm?
แรงอัด 11.1:1
Air intake diameter: 70 mm
กระบอกสูบ: 81 mm (3.189")
: 87.2 mm (3.433")
Rod Length: 137.9 mm (5.429")
Rod/ Ratio: 1.58
แรง ม้า: 190 ps/139 kW/187 hp (SAE net hp) (139 kW) @ 7900 rpm & 131 ft•lbf/178 N•m @ 7300rpm
Redline: 8400rpm
กล่องเกียร์: S80 w/LSD
[] B18C7
VTEC
Found in:
1996- Honda Integra Type R (Australia)
แรง ม้า: 193ps/189hp (141 kW) @ 8200 rpm & 127 ft•lbf/172 N•m @ 7500rpm
[] B20
[] B20B
NON-VTEC
Found in: Honda CR-V, Honda Orthia
ขนาด ของ เครื่อง/: 1973
แรง ม้า: 126 hp (94 kW) @ 5500 rpm
กำลังบิด : 133 ft•lbf (180 N•m) @ 4200 rpm
แรงอัด 8.8:1
กระบอกสูบ: 84 mm (3.31 in)
: 89 mm (3.50 in)
RPM : 6300 rpm red line
[] B20Z
NON-VTEC
Found in: 1999-2001 Honda CR-V
ขนาด ของ เครื่อง/: 1973
แรง ม้า: 142 hp @ 5500 rpm
กำลังบิด : 133[vague] @ 4500 rpm
แรงอัด 9.6:1
กระบอกสูบ: 84 mm
: 89 mm
RPM : 6900 rpm
[] D13B1
Found in:
1988-1991 Honda Civic DX (European Market)
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1343 cm?
กระบอกสูบ and : 75 mm X 76 mm
แรงอัด: 9.5:1
แรง ม้า, กำลังบิด : n/s (Not stated in Owners Manual)
Valvetrain : SOHC, 4 valves per cylinder
Fuel Control : Single Carburetor
[] D13B2
Found in:
1992-1995 Honda Civic DX (European Market)
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1343 cm?
กระบอกสูบ and : 75 mm X 76 mm
แรงอัด: 9:1
แรง ม้า, กำลังบิด : 75 hp (56 kW) @ 4500 rpm
Valvetrain : SOHC, 4 valves per cylinder
Fuel Control : Single Carburetor

[] D-SERIES
[] D14A2
Found in:
1995-1996 Honda Civic MA8 (European Market)
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1396 cm?
กระบอกสูบ and : 75.0 mm X 79.0 mm
แรงอัด: 9.2:1
กำลังบิด , แรง ม้า : 117 Nm @ 3800 rpm, 66 kW @ 4800 rpm
Valvetrain : SOHC, 4 valves per cylinder
Fuel Control : Multi-point fuel Injection, PGM-FI
[] D15A2
Found in:
1984-1987 Honda CRX DX
1984-1987 Honda Civic (JDM)
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1488 cm?
กระบอกสูบ and : 74 mm X 86.5 mm
แรงอัด: 9.6:1
แรง ม้า : 76 hp (57 kW) @ 4500 rpm & 84 ft•lbf @ 2500 rpm
Valvetrain : SOHC 3 valves + 1 auxiliary valve for each cylinder
Fuel Control : Carbureted, CVCC, CVCC was not equipped on Canadian CDM cars
Known as the EW-2 from 84-86
[] D15A3
Found in:
1985-1987 Honda CRX Si and 1987 Civic Si (AU/NZ)
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1488 cm?
กระบอกสูบ and : 74 mm X 86.5 mm
แรงอัด: 8.7:1
แรง ม้า : 91 hp (68 kW) @ 4800 rpm & 93 ft•lbf @ 3500 rpm
Valvetrain : SOHC, 3 valves/cylinder
Fuel Control : F
[] D15B
VTEC
Found in:
1991-1999 Honda Civic VTi EG4 (Japanese Market)
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1493 cm?
กระบอกสูบ and : 75 mm X 84.5 mm
Rod Length : 137 mm
แรงอัด: 9.3:1
แรง ม้า : 130 hp (97 kW) @ 5800 rpm & 102 ft•lbf @ 4200 rpm
RPM : 7200 rpm
Fuel Cut : 7411 rpm
Valvetrain : SOHC VTEC
Head Code : P08 (same head as D16Z6)
Fuel Control : OBD-1 MPFI
[] D15B (3 stage VTEC)
3-stage VTEC
1996-1999 Honda Civic VTi EK3 and Ferio Vi
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1493 cm?
กระบอกสูบ and : 75 mm X 84.5 mm
Rod Length : 137 mm
แรงอัด: 9.3:1
แรง ม้า : 130 hp (97 kW) @ 5600 rpm & 102 ft•lbf @ 3800 rpm
Valvetrain : SOHC VTEC
Fuel Control : OBD-2 MPFI
[] D15B1
Found in:
1988-1991 Honda Civic Hatchback
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1493 cm?
กระบอกสูบ and : 75 mm X 84.5 mm
แรงอัด: 9.2:1
แรง ม้า : 70 hp (52 kW) @ 4500 rpm & 83 ft•lbf @ 3000 rpm
Valvetrain : SOHC (4 valves per cylinder)
Fuel Control : OBD-O DPFI
[] D15B2
1988-1991 Honda Civic DX/DLX
1988-1991 Honda CRX DX
1992-1995 Honda Civic LSi Hatch/Saloon (European Market)
1990-1995 Honda Concerto (European Market)
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1493 cm?
กระบอกสูบ and : 75 mm X 84.5 mm
แรงอัด: 9.2:1
แรง ม้า : 91 hp (68 kW) @ 4900 rpm & 119 Nm @ 3800 rpm
Valvetrain : SOHC (4 valves per cylinder)
Cam Gear : 38 tooth
Fuel Control : PGMFI Dual Point
RPM : 7000 rpm
[] D15B4
1989-1991 Honda Civic GL (Australian Market)
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1493 cm?
กระบอกสูบ and : 75 mm X 84.5 mm
แรงอัด: 9.2:1
แรง ม้า : 90 hp (70 kW) @ 5200 rpm & 122 Nm @ 3800 rpm
Valvetrain : SOHC (2-4 valves per cylinder, depending on year)
Fuel Control : Dual Carburettor
[] D15B6
1988-1991 Honda CRX HFx
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1493 cm?
กระบอกสูบ and : 75 mm X 84.5 mm
แรงอัด: 9.1:1
แรง ม้า : 62 hp(88-89) 72 hp(90-91)@ 4500 & 83 ft•lbf @ 2800 rpm
Valvetrain : SOHC (2 valves per cylinder)
Fuel Control : OBD-0 MPFI
[] D15B7
1992-1995 Honda Civic CX (Canadian model)
1992-1995 Honda Civic DX/LX
1993-1995 Honda Civic del Sol S
1992-1995 Honda Civic LSi Coupe (European Market)
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1493 cm?
กระบอกสูบ and : 75 mm X 84.5 mm
แรงอัด: 9.2:1
แรง ม้า : 102 hp (76 kW) @ 5600 rpm & 98 ft•lbf @ 3800 rpm
Valvetrain : SOHC (4 valves per cylinder)
Piston Code : PM3
Fuel Control : OBD-1 MPFI
[] D15B8
1992-1995 Honda Civic CX (U.S. model)
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1493 cm?
กระบอกสูบ and : 75 mm X 84.5 mm
แรงอัด: 9.1:1
แรง ม้า : 70 hp (52 kW) @ 4500 rpm & 83 ft•lbf @ 2800 rpm
Valvetrain : SOHC (2 valves per cylinder)
Fuel Control : OBD-1 MPFI
[] D15Z1
VTEC-E
1992-1995 Honda Civic VX
1992-1995 Honda Civic VEi (European Market)
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1493 cm?
กระบอกสูบ and : 75 mm X 84.5 mm
Rod Length : 137 mm
แรงอัด: 9.3:1
แรง ม้า : 92 hp (69 kW) @ 5600 rpm & 97 ft•lbf @ 4800 rpm
Valvetrain : SOHC VTEC-E (2 valves per cylinder)
Piston Code : P07
Fuel Control : OBD-1 MPFI
[] D15Z4
1996-2000 Civic Exi and SA Ballade & Civic 150i
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1493 cm3
แรง ม้า : +-100hp (77Kw) @ 5800 rpm
กำลังบิด (ft•lbf@rpm): 99 (135 N•m) @ 4200 rpm
Valvetrain : SOHC non-VTEC 16v
[] D15Z6
VTEC-E
Found in:
1996-2000 Honda Civic iLS (European Market)
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1493 cm?
กระบอกสูบ and : 75 mm X 84.5 mm
Rod Length : 137 mm
แรงอัด: 9.6:1
แรง ม้า : 115hp @ 6500 rpm
กำลังบิด : 100 ft•lbf (141 Nm) @ 4800 rpm
VTEC Switchover : 2500 rpm (3500 rpm in 5th gear)
Valvetrain : SOHC VTEC-E (2 valves per cylinder)
Fuel Control : PGM-FI MPFI
[] D15Z8
VTEC-E
Found in:
1996-2000 Honda Civic LS (European Market)
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1493 cm?
กระบอกสูบ and : 75 mm X 84.5 mm
แรงอัด: 9.1:1
แรง ม้า : 84 kw (114 hp) @ 6500 rpm
กำลังบิด : 134 Nm (95 ft•lbf) @ 5500 rpm
[] D16A1
Found in:
1986-89 Acura Integra (USA)
ขนาด ของ เครื่อง/ : 1590 cm?
กระบอกสูบ and : 75 mm X 90 mm
1986-1987 แรงอัด: 9.3:1 1988-1989 แรงอัด: 9.5: 1
1986-1987 แรง ม้า : 113 hp (84 kW) @ 6250rpm กำลังบิด : 99 ft•lbf @ 5500rpm
1988-1989 แรง ม้า : 118 hp (88 kW) @ 6250rpm กำลังบิด : 103 ft•lbf @ 5500rpm
Valvetrain : DOHC non-VTEC
Piston Code 1986-87 : PG6
Piston Code 1988-89 : P29 (PM7 is ZC equivalent/same piston)
Fuel Control : OBD-0 MPFI

TOYOTA Spec

รุ่น จำนวนสูบ แบบฝาสูบ กระบอกสูบxช่วงชัก ความจุ แรงม้า แรงบิด เฟืองท้าย ขับเคลื่อน เกียร์ หมายเหตุ
15 B FTE 4 --- 108x112 4104 CC. 170/3000 43/1600 MEGA CRUISER
1GZ FE V12 DOHC 48 V. 81x80.8 4996 CC. 280/5200 49/4000 CENTULY
1UZ FE V8 DOHC 32 V. 87.5x82.5 3968 CC. 280/5400 41/4000 3.916 FR 4 AT CELSIOR,CROWN MAJESTA
1UZ FE V8 DOHC 32 V. 87.5x82.5 3965 CC. 260/5400 36/4600 ---
2UZ FE V8 DOHC 32 V. 94x84 4663 CC. 235/4800 43/3600 VX100
3UZ FE V8 DOHC 32 V. 91x82.5 4293 CC. 283/5600 43.8/3500 LEXUS GS 430
1HDFTE 6 DOHC 24 V. --- 4163 CC. 205/3400 44/1800 Disel LandCruiser
1HD FTE 6 DOHC 24 V. --- 4163 CC. 190/3400 44/1800 Disel COASTER
1HZ 6 OHC 24 V. 94x100 4163 CC. 130/3800 29/2200 Disel LandCruiser V70
1KZ TE 4 OHC 16 V. 96x103 2982 CC. 130/3600 33.8/2000 HIACE
1KZ TE 4 OHC 16 V. 96x103 2982 CC. 140/3600 35/2000 TOURING HIACE
1KZ TE 4 OHC 16 V. 96x103 2982 CC. 145/3600 35/2000 LANDCRUISER CYGNUS, VX 100,PRADO TZ 3000
HILUX SURF
1KZ TE 4 OHV 8 V. 96x103 2982 CC. 125/3600 32.1/2000 Thai SportRider SR5 2000
1KD FTV 4 DOHC 16 V. 96x103 2982 CC. 145/3600 35/2000 LAND CRUISER PRADO
1KD FTV 4 DOHC 16 V. 96x103 2982 CC. 170/3400 35./1800-3400 ILUX SURF
1FZ FE 6 DOHC 24 V. 100x95 4477 CC. 224/4600 39.5/4600 4.100 4WD 4 AT VX150 Aus
1MZ FE V6 DOHC 24 V. 87.5x83 2994 CC. 215/5800 30.5/4400 WINDOM
1MZ FE V6 DOHC 24 V. 87.5x83 2994 CC. 220/5800 31/4400 ESTIMA 2003
2MZ FE V6 VVTi DOHC 24 V. 87.5x69.2 2496 CC. 200/6000 25/4600 MARK II,CAMRY
3MZ FE V6 VVTi DOHC 24 V. 92x83 3300 CC. 233/5600 33.5/3600 SIENNA,HARRIER,RX330 2003
5VZ FE V6 DOHC 24 V. 93.5x82 3378 CC. 185/4800 30/3600 LANDCRUISER PRADO RZ3400
5VZ FE V6 DOHC 24 V. 93.5x82 3378 CC. 180/4800 30.5/3600 GRAND HIACE, ADVANCE
3VZ FE V6 DOHC 24 V. 87.5x82.5 2958 CC. 200/5800 28/4600 4.054 FF 4 AT ---
1SZ FE 6 DOHC 16 V. VVTi 69x66.7 998 CC. 70/6000 9.7/4100 Yaris'99
1ZZ FE 6 DOHC 24 V. 79x91.5 1794 CC. 130/6000 17.4/4000 FR VISTA
1ZZ FE 6 DOHC 24 V. 79x91.5 1794 CC. 140/6400 17.4/4400 FR MR-S
2ZZ GE 6 VVTi BEAM DOHC 24 V. 82x85 1795 CC. 190/7600 18.4/6800 FR CELICA 1999-2000
2JZ GTE 6 DOHC 24 V. 86x86 2997 CC. 280/5600 44.0/3600 3.266 FR 6 MT ---
2JZ GTE 6 DOHC 24 V. 86x86 2997 CC. 280/5600 46.0/3600 3.769 FR 4 AT ARISTO,SUPRA
2JZ GTE 6 DOHC 24 V. 86x86 2997 CC. 230/6000 29/4800 4.083 FR 5 MT ---
2JZ GTE 6 DOHC 24 V. 86x86 2997 CC. 230/6000 29/4800 4.100 FR 4 AT ---
2JZ FSE 6 DOHC 24 V. 86x86 2997 CC. 220/5600 30/3600 FR CROWN MAJESTA
2JZ GE 6 DOHC 24 V. 86x86 2997 CC. 220/5600 30/4000 FR CROWN SEDAN ROYAL SALOON
2JZ GE 6 DOHC 24 V. 86x86 2997 CC. 215/5800 30/3800 FR PROGRES
2JZ GE 6 DOHC 24 V. 86x86 2997 CC. 230/6000 29/4800 FR ---
7M GTE 6 DOHC 24 V. 83x91 2954 CC. 270/5000 36/3600 4.100 FR 5 MT ---
7M GTE 6 DOHC 24 V. 83x91 2954 CC. 230/5600 33/4000 FR Supra
7M GTE 6 DOHC 24 V. 83x91 2954 CC. 200/5600 27/3600 4.100 FR 5 MT Supra
7M GE 6 DOHC 24 V. 83x91 2954 CC. 200/5000 27/3600 FR ---
1JZ GTE 6 DOHC 24 V. 86x71.5 2491 CC. 280/6200 37/4800 3.725 FR 5 MT Supra 1995
1JZ GTE 6 DOHC 24 V. 86x71.5 2491 CC. 280/6200 37/4800 4.100 FR 4 AT 1995
1JZ GTE 6 DOHC 24 V. 86x71.5 2491 CC. 280/6200 38.5/2400 FR SOARER,MARK II, CHASER
1JZ GE 6 DOHC 24 V. 86x71.5 2491 CC. 180/6000 24/4800 3.909 FR 5 MT ---
1JZ GE 6 DOHC 24 V. 86x71.5 2491 CC. 180/6000 24/4800 4.100 FR 4 AT ---
1JZ GE 6 DOHC 24 V. 86x71.5 2491 CC. 200/6000 26/4000 FR CHASER,CRESTA
1G GTE 6 DOHC 24 V. 75x75 1988 CC. 210/6200 28/3800 4.566 FR 5 MT ปล๊กเทา 1993
1G GTE 6 DOHC 24 V. 75x75 1988 CC. 185/6200 24.5/3200 FR ปลั๊กเหลือง
1G GE 6 DOHC 24 V. 75x75 1988 CC. 160/6200 19/4500 4.300 FR 5 MT ---
1G GE 6 DOHC 24 V. 75x75 1988 CC. 160/6200 19/4500 4.300 FR 4 AT ---
1G FE 6 DOHC 24 V. 75x75 1988 CC. 160/6200 20.4/4400 FR MARK II,CRESTA
2TZ FZE 4 DOHC 24 V. 95x86 2438 CC. 160/5000 26.3/3600 FR ESTIMA
3RZ FE 4 DOHC 24 V. 95x95 2693 CC. 145/4800 23.2/3600 FR TOURING HIACE,REGUIS
5S FE 4 DOHC 16 V. 87x91 2163 CC. 140/5800 19.5/4400 3.950 FF 4 AT CAMRY,HARRIER
3S GTE 4 DOHC 16 V. 86x86 1998 CC. 260/6000 33/4400 4.285 CALDINA
3S GTE 4 DOHC 16 V. 86x86 1998 CC. 255/6000 31/4000 4.285 4WD 5 MT GT4 1995
3S GTE 4 DOHC 16 V. 86x86 1998 CC. 245/6000 31/4000 4.285 4WD 5 MT MR2/Celica 1995
3S GE 4 DOHC 16 V. 86x86 1998 CC. 160/6600 12/4800 4.176 FF 1998
3S GE 4 DOHC 16 V. 86x86 1998 CC. 170/6600 19.5/4800 4.176 FF 5 MT 1995
3S GE 4 DOHC 16 V. 86x86 1998 CC. 170/6600 19.5/4800 3.950 FF 4 AT 1995
3S GE 4 DOHC 16 V. 86x86 1998 CC. 180/6600 21/6000 4.176 FF 5 MT CALDINA
3S GE 4 DOHC 16 V. 86x86 1998 CC. 180/6600 20.5/6000 FF RAV V,RAV 4
3S GE 4 DOHC 16 V. 86x86 1998 CC. 190/7000 19.5/4800 FF ---
3S GE 4 DOHC 16 V. 86x86 1998 CC. 200/6600 21/6000 FF ---
3S GE 4 DOHC 16 V. 86x86 1998 CC. 210/6600 22/6400 FF ALTEZZA
3S FE 4 DOHC 16 V. 86x86 1998 CC. 130/5600 18.5/4400 FF TOWNACE,LITEACE
3S FE 4 DOHC 16 V. 86x86 1998 CC. 135/6000 18.5/4400 FF NADIA,GAIA,IPSUM,RAV 4
3S FE 4 DOHC 16 V. 86x86 1998 CC. 140/6000 19/4400 3.736 FF 5 MT Corona 1995
3S FE 4 DOHC 16 V. 86x86 1998 CC. 140/6000 19/4400 3.731 FF 4 AT Corona 1995
3S FSE 4 DOHC 16 V. 86x86 1998 CC. 145/6000 20/4400 FF VISTA,NADIA
3RZ FE 4 DOHC 16 V. 95x95 1998 CC. 145/4800 23.2/3600 ---
3C TE 4 OHC 16 V. 86x94 2184 CC. 94/4400 21.5/2000 LITEACE DIESEL
3C E 4 OHC 16 V. 86x94 2184 CC. 79/4400 15/2400 LITEACE,TOWNACE DIESEL
7A FE 4 DOHC 16 V. 81x85.5 1762 CC. 114/5400 15.8/4800 FF ---
7A FE 4 DOHC 16 V. 81x85.5 1762 CC. 115/5400 15.8/4800 2.962 FF 4 AT CARINA,CORONA
4A GE 4 DOHC 20 V. 81x77 1587 CC. 160/7400 16.5/5200 4.312 FF 5 MT ฝาเงิน'93-'94 Levin Airflow
4A GE 4 DOHC 20 V. 81x77 1587 CC. 165/7800 16.5/5600 4.312 FF 5 MT ฝาดำ'95-'96 Levin,COROLLA
4A GE 4 DOHC 16 V. 81x77 1587 CC. 145/7500 16/5500 4.312 FF 5 MT 1990
4A GE 4 DOHC 16 V. 81x77 1587 CC. 135/7500 16/5500 4.312 FF 5 MT 1989
4A GE 4 DOHC 16 V. 81x77 1587 CC. 125/7500 16/5500 4.100 FR 5 MT 1985
4A GZE 4 DOHC 16 V. 81x77 1587 CC. 170/6400 21/4400 3.944 FF 5 MT MR2 1995
4A GZE 4 DOHC 16 V. 81x77 1587 CC. 145/6400 19.5/4400 3.944 FF 5 MT 1990
4A FE 4 DOHC 16 V. 81x77 1587 CC. 115/6000 15/4800 4.053 FF 5 MT 1995
4A FE 4 DOHC 16 V. 81x77 1587 CC. 115/6000 15/4800 3.526 FF 4 AT 1995
4A FE 4 DOHC 16 V. 81x77 1587 CC. 110/5800 15.2/4600 FF SPRINTER,SPACIO
5A FE 4 DOHC 16 V. 78.7x77 1498 CC. 100/5600 14/4400 3.722 FF 5 MT COROLLA,SPRINTER
5A FE 4 DOHC 16 V. 78.7x77 1498 CC. 100/5600 14/4400 3.333 FF 3 AT COROLLA,SPRINTER
5E FHE 4 DOHC 16 V. 74x87 1495 CC. 110/6400 13.9/4000 3.526 FF 5 MT ---
5E FE 4 DOHC 16 V. 74x87 1495 CC. 97/5400 13.7/4400 3.526 FF 5 MT CALDINA
5E FE 4 DOHC 16 V. 74x87 1495 CC. 94/5400 13.5/4400 FF RAUM
5E FE 4 DOHC 16 V. 74x87 1496 CC. 91/5400 13.2/4400 FF COROLLA
4E FTE 4 DOHC 16 V. 74x77.4 1331 CC. 135/6400 16/4800 3.941 FF 5 MT ---
4E FE 4 DOHC 16 V. 74x77.4 1331 CC. 88/5600 11.8/4600 3.722 FF 5 MT ---
4E FE 4 DOHC 16 V. 74x77.4 1331 CC. 88/5600 11.8/4600 3.526 FF 4 AT ---
3L 4 OHC DiV. 96x96 2779 CC. 91/4000 --- FR Hilux
5L 4 OHC DiV. 99.5x96 2986 CC. 97/4000 192nm/2400 FR Tiger
5L 4 OHC DiV. 99.5x96 2985 CC. 91/4000 19.5/2400 FR REGIUS
1PZ 5 --- 94x100 3469 CC. 115/4000 23.5/2600 Disel
2LT 4 --- 92x92 2446 CC. 97/3600 24.5/2400 FR Disel
4K 4 SOHC 75x73 1290 CC. 75/5600 10.7/3600 Collora KE 70
1NZ FXE 4 DOHC 16 V. 75x84.7 1496 CC. 58/4000 10.4/4000 PRIUS
1NZ FE 4 DOHC 16 V.VVTi 75x84.7 1496 CC. 109/6000 14.5/4200 FF SOLUNA VIOS 2002
2NZ FE 4 DOHC 16 V. 75x73.5 1298 CC. 88/6000 12.5/4400 FF FUNCARGO
1SZ FE 4 DOHC 16 V. 69x66.7 997 CC. 70/6000 9.7/4000 FF PLATZ,VITZ
1 ZZ FE 4 DOHC 16 V. 79x91.5 1,794 CC. 136/6000 17.4/4200 FF ---
2 ZZ GE 4 DOHC 16 V. 86x86 1,795 CC. 190/7600 18.4/6800 CELICA
T2 4 DOHC 16 V. 90x94 2392 CC. 150/6000 22.1/4400 CAVALIER
EJ DE 4 DOHC 16 V. 72x81 989 CC. 60/6000 9.6/3600 DUET
15B FTE 4 --- 108x112 4104 CC. 170/3000 43/1600 MEGA CRUISER
1RZ E 4 OHC 16 V. 86x86 1998 CC. 110/5200 17/2600 HILUX
3RZ FE 4 DOHC 16 V. 95x95 2693 CC. 145/4800 24/4000 HILUX
HC EJ 4 OHC 16 V. 76x71.4 1295 CC. 92/6500 11/5000 CAMI
1RZ E 4 OHC --- 1998 CC. 110/5200 17/2600 HILUX
7K E 4 OHV --- 1781 CC. 82/4800 114.5/2800 LITEACE
1AZ FSE 4 DOHC 16 V. 86x86 1998 CC. 152/6000 20.4/4000 RAV 4 '2001
1AZ FE 4 DOKC 16 V. VVTi 86x86 1998 CC. 144/5600 19.4/4000 CAMRY 2003
2AZ FE 4 DOKC 16 V. VVTi --- 2362 CC. 160/5600 22.5/4000 ESTIMA 2003

เครื่องยนต์ SR กับ RB ค่ายรถยนต์ NISSAN

เครื่องตระกูล SR 20 ของค่าย NISSAN เป็นเครื่องที่นิยมมากตัวหนึ่งเช่นกัน มีทั้งแบบธรรมดา และมี เทอร์โบ แล้วแต่ความชอบและการเลือกใช้ให้เหมาะสม

เครื่อง SR 20 DET ฝาครอบวาล์วสีแดง 205 แรงม้า เริ่มต้นถูกจับวางขวางใช้กับตัว NISSAN PULSA 4 WD ก่อน ต่อมาช่วงปี 1990-1993 ถูกจับมาวางตรงแล้วขับหลัง ในบอดี้ของ SILVIA รุ่น PS 13 กับตัว 180 SX รุ่น PRS 13 เป็นเครื่อง SR 20 SET Type-1 แบบ DOHC 4 สูบ แถวเรียง 16 วาล์ว TURBO ความจุ 1,988 ซีซี ( 86 x 86 ) อัตราส่วนกำลังอัด 8.5 ต่อ 1 แล้วติดเทอร์โบ GARRETT T 25 G มีค่า Compressor A/R 0.8 ใช้หัวฉีดขนาด 370 ซีซี ได้แรงม้า 205 ตัวที่ 6,000 รอบต่อนาที ส่วนเครื่อง SR 20 DE ตัวขับหน้า เอาไปใส่ใน Bluebird SSS 4 WD รหัส HNU แรงม้า 210 ตัว ที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิด 28 กก.-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที

หลังจากนั้นมา SR 20 ก็มีการปรับปรุงเป็นรุ่น Type-2 แต่ม้าเท่าเดิมคือ 205 ตัว ที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิด 28 กก.-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที เหมือนเดิม แต่ปรับปรุงชุดเทอร์โบไปใช้แบบ Ball Baring อยู่ในบอดี้ 180 SX รุ่น RPS 13 II ปี 1996-1998 โดยเปลี่ยนฝาครอบวาล์วเป็นสีดำ หรือที่เรียกกันว่ารุ่น ฝาเรียบ
ปี 1993 NISSAN ได้ปรับปรุงเครื่อง SR เป็น Type-3 ในตัว Silvia รหัสตัวถัง S 14 ตั้งแต่ปี 1993-1997 และ CS 14 ปี 1996-1999 มีเทคโนโลยี่การเปลี่ยนองศาแคมชาร์ฟได้ (ระบบ VVT ) ตัวของฝาครอบวาล์วมีสีดำ และมีขนาดความสูงมากกว่าตัวเก่า มีลักษณะเทลาด หรือเรียกว่ารุ่น หลังหัก หรือฝาโหนก เครื่องตัวนี้เป็นยุคแรกของเครื่องระบบ DOHC 4 สูบ แถวเรียง 16 วาล์ว VVT Turbo ความจุ 1,998 ซีซี ( 86x86 ) อัตราส่วนกำลังอัด 8.5 ต่อ 1 เปลี่ยนจากชุด Turbo GARRETT T 25 G ในตัว Type-1 และ Type-2 มาเป็นรุ่น T 28 และเพิ่มขนาดหัวฉีดจากเดิม 370 ซีซี เป็น 380 ซีซี ทำให้ได้ฝูงม้าเพิ่มขึ้นเป็น 220 ตัวที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิด 28 กก.-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที

ระหว่างปี 1998 มีการปรับปรุงเครื่อง SR รุ่นหลังหักนี้เป็น Type-3.5 วางใน บอดี้ CS 14 Silvia หน้าเหยี่ยว รุ่นปี 1998-1999 เป็นเครื่อง DOHC 4 สูบ แถวเรียง VVT Turbo ความจุ 1,998 ซีซี (86 x 86 ) อัตราส่วนกำลังอัด 8.5 ต่อ1 ใช้ Turbo IHI แบบ High Floe และเพิ่มขนาดหัวฉีดเป็น 480 ซีซีได้ม้าเป็น 250 ตัวที่ 6,400 รอบต่อนาที แงบิด 288 กกง-เมตร ที่ 4,800 รอบต่อนาที
สำหรับตัว S 15 จะได้เครื่อง Sr 20 DET Type-4 และยังเป็นเครื่อง รุ่นหลังหักเหมือนเดิม จากรูปแบบของเครื่อง DOHC 4 สูบ แถวเรียง 16 วาล์ว VVT Turbo ความจุ 1,998 ซีซี มีม้า 250 ตัวที่ 6,400 รอบต่อนาที แรงบิด 28 กก.-เมตรที่ 4,800 รอบต่อนาที ใช้ Turbo GARRETT รุ่น T 28 ใช้หัวฉีด 480 ซีซี เป็นเกียร์เดนหน้า 6 จังหวะ ถ้าตัว Type-3 จะเป็นแค่ 5 จังหวะ

เครื่อง RB
เครื่อง แรงอีกตระกูล ที่ผู้รักความแรงต้องรู้จักชื่อเสียงมานานแล้ว จะเป็นรองเรื่องความทนทานก็เครื่องตระกุล J ของโตโยต้าเท่านั้น แต่ถ้าโมดิฟายกันเต็มๆและถูกต้องแล้วก็น่าจะไม่แตกต่างกัน
เครื่อง RB จะสถิตอยู่หลายรุ่น ที่รู้จักกันดีก็เห็นจะไม่พ้นตัวแรงอย่าง Skyline เจ้าปลายฟ้ามหากาฬ ลองมาดูสเปคกัน
RB 20
RB 20 E
RB 20 DE
แบบ
6 สูบ OHC 12 V. แบบ
6 สูบ DOHC 24 V.
ขนาด 1998 ขนาด 1998
ความกว้าง x ช่วงชัก 78 x 69.7 ความกว้าง x ช่วงชัก 78 x 69.7
แรงอัด 9.5:1 แรงอัด 9.5:1
แรงม้า 125/5600 แรงม้า 155/6400
แรงบิด 17.5/400 แรงบิด 18.8/5200
เฟืองท้าย 4.363 เฟืองท้าย 3.916 (Auto)
RB 20 DET (ฝาแดง)
RB 20 DET (ฝาบรอนซ์)
แบบ
6 สูบ DOHC 24 V. แบบ
6 สูบ DOHC 24 V.
ขนาด 1998 ขนาด 1998
ความกว้าง x ช่วงชัก 78 x 69.7 ความกว้าง x ช่วงชัก 78 x 69.7
แรงอัด 9.0:1 แรงอัด 9.0:1
แรงม้า 190/6400 แรงม้า 205/6400
แรงบิด 24.5/4800 แรงบิด 27/3200
เฟืองท้าย 3.916 (Auto) เฟืองท้าย 3.916 (Auto)
RB 20 DET (ฝาบรอนซ์ มี โบวอ็อฟวาล์ว)

RB 20 DET
แบบ
6 สูบ DOHC 24 V.
ขนาด 1998
ความกว้าง x ช่วงชัก 78 x 69.7
แรงอัด 9.0:1
แรงม้า 215/6400
แรงบิด 27/3200
เฟืองท้าย 3.916 (Auto)
RB 25

ตัวแรงอีกขั้น ที่แตกต่างกันตามรุ่นรถที่วางเครื่องนี้อยู่ มาดูสเปคกัน
RB 25 DE
RB 25 DE
แบบ
6 สูบ DOHC 24 V. แบบ
6 สูบ DOHC 24 V.
ขนาด 2498 ขนาด 2498
ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 71.7 ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 71.7
แรงอัด 10.0:1 แรงอัด 10.0:1
แรงม้า 190/6400 แรงม้า 200/6400
แรงบิด 23.5/4800 แรงบิด 23.5/4800
เฟืองท้าย 3.538 (Auto) เฟืองท้าย 3.538 (Auto)
RB 25 DET
RB 25 DET
แบบ
6 สูบ DOHC 24 V. แบบ
6 สูบ DOHC 24 V.
ขนาด 2498 ขนาด 2498
ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 71.7 ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 71.7
แรงอัด 9.0:1 แรงอัด 10.0:1
แรงม้า 235/6400 แรงม้า 245/6400
แรงบิด 28/4800 แรงบิด 28/4800
เฟืองท้าย 4.083 (Auto) เฟืองท้าย 4.363 (Auto)
สเปค เครื่อง RB 25 ที่ผ่านมานั้น จะผลิตจนถึงต้นปี 1997 หลังจากนั้นจะเริ่มผลิตตัวที่ใช้เทคโนโลยี่ใหม่ที่ชื่อว่า NEO ที่จะช่วยประหยัดน้ำมัน ลดมลพิษ ส่วนใน Skyline มีการปรับปรุงกล่องให้มีแรงม้า แรงบิดเพิ่มขึ้น
RB 25 DE NEO
RB 25 DET NEO
แบบ
6 สูบ D OHC 24 V. แบบ
6 สูบ D OHC 24 V.
ขนาด 2498 ขนาด 2498
ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 71.7 ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 71.7
แรงอัด 10.0:1 แรงอัด 9.0:1
แรงม้า 200/6000 แรงม้า 250/6400
แรงบิด 26/4000 แรงบิด 30/4800
เฟืองท้าย 4.083 (Auto) เฟืองท้าย 4.111(Auto)
RB 25 DET NEO '2000

RB 25 DE
แบบ
6 สูบ D OHC 24 V.
ขนาด 2498
ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 71.7
แรงอัด 9.0:1
แรงม้า 280/6000
แรงบิด 34/3200
เฟืองท้าย 4.083 (Auto)
RB 26 DETT
สุด ยอดเครื่องยนต์ที่ทุกนต้องรู้จักเป็นแน่แท้ ล้ำด้วยเทคโนโลยี่ขับเคลื่อน 4 ล้อ ระบบ ATTESA E-TS ครั้งแรกด้วยการอยู่ในรถ Skyline R 32 GT-R ปี 1989 แล้วก็มีการปรับปรุงกันมาโดยตลอด และเป็นคู่หูของเจ้า ปลายฟ้ามหากาฬ มาตลอด

RB 26DETT
RB 26DETT '2000
แบบ
6 สูบ DOHC 24 V. แบบ
6 สูบ DOHC 24 V.
ขนาด 2568 ขนาด 2568
ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 73.7 ความกว้าง x ช่วงชัก 86 x 73.7
แรงอัด 8.5:1 แรงอัด 8.5:1
แรงม้า 280/6800 แรงม้า 280/6800
แรงบิด 36/4400 แรงบิด 340/4400
เฟืองท้าย 4.111 เฟืองท้าย 3.545 (Auto)

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รายละเอียดเครื่องยนต์ 4G63

เริ่มต้นมาดูกันที่ตัวเครื่องยนต์ธรรมดา แบบไม่มีเทอร์โบกันก่อน (NA) ฝาขาว
เครื่องยนต์ 4G63
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (CC.) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 10 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 140 / 6,000
แรงบิด (kg-m / rpm) 18 / 4,750
อัตราทดเฟืองท้าย 4.376

เครื่องยนต์ที่อยู่ใน “ VR4 “ รุ่นแรกๆ ตัวนี้จะเป็นรุ่นที่มีเทอร์โบ (ฝาแดง CYCLONE)
เครื่องยนต์ 4G63T
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (ซีซี) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 8.5 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 205 / 6,000 (TURBO TD 04)
แรงบิด (kg-m / rpm) 25.4 / 2,500
อัตราทดเฟืองท้าย 4.376

ถัดมาเป็นเครื่องยนต์ (ปีใหม่ขึ้นมา) ที่ถูกปรับปรุงแล้ว จะอยู่ในตัว “ Eclipse “
เครื่องยนต์ 4G63T
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (CC.) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 8.5 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 220 / 6,000 (TURBO TD 05 H)
แรงบิด (kg-m / rpm) 30.5 / 2,500
อัตราทดเฟืองท้าย 4.376

ส่วนนี้จะเป็นเครื่องยนต์ที่อยู่ในตัว Evolution ทั้ง 6 รุ่น
Evolution I (ปีที่ผลิตออกมา จะอยู่ที่ปี 1992)
เครื่องยนต์ 4G63T
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (CC.) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 8.5 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 250 / 6,000 (TURBO TD 05 H-16 G-7)
แรงบิด (kg-m / rpm) 31.5 / 3,000
อัตราทดเฟืองท้าย 4.376

Evolution II (ปีที่ผลิตออกมา จะอยู่ที่ปี 1994)
เครื่องยนต์ 4G63T
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (CC.) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 8.5 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 260 / 6,000 (TURBO TD 05 H-16 G-7)
แรงบิด (kg-m / rpm) 31.5 / 3,000
อัตราทดเฟืองท้าย 4.376

Evolution III (ปีที่ผลิตออกมา จะอยู่ที่ปี 1995)
เครื่องยนต์ 4G63T
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (CC.) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 8.5 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 270 / 6,250 (TURBO TD 05 H-16 G 6-7)
แรงบิด (kg-m / rpm) 31.5 / 3,000
อัตราทดเฟืองท้าย 4.376

Evolution IV (ปีที่ผลิตออกมา จะอยู่ที่ปี 1996)
ข้อ แตกต่างระหว่างเครื่องยนต์ VR4, EVO I-III กับ เครื่องยนต์ EVO IV-ปัจจุบัน ก็คือเครื่องยนต์นั้นจะหันคนละด้านกัน คือ เครื่องยนต์ VR4, EVO I-III จะหันด้านขวา (ยืนมองจากด้านหน้ารถเข้าไป) ส่วนเครื่องยนต์ EVO IV-ปัจจุบัน จะหันด้านซ้าย (ยืนมองจากด้านหน้ารถเข้าไปเช่นกัน)
เครื่องยนต์ 4G63T
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (CC.) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 8.8 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 280 / 6,500 (TURBO TD 05 HR-16 G 6-9 T)
แรงบิด (kg-m / rpm) 36 / 3,000
อัตราทดเฟืองท้าย 4.529 (GSR)

Evolution V (ปีที่ผลิตออกมา จะอยู่ที่ปี 1998)
เครื่องยนต์ 4G63T
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (CC.) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 8.8 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 280 / 6,500 (TURBO TD 05 HR-16 G 6-10.5)
แรงบิด (kg-m / rpm) 38 / 3,000
อัตราทดเฟืองท้าย 4.529 (GSR)

Evolution VI (ปีที่ผลิตออกมา จะอยู่ที่ปี 1999)
เครื่องยนต์ 4G63
แบบ 4 สูบ DOHC 16V
ความกว้าง x ช่วงชัก (mm.) 85.0 X 88.0
ขนาด (CC.) 1,997
อัตราส่วนกำลังอัด 8.8 : 1
แรงม้า (PS / rpm) 280 / 6,500 (TURBO TD 05 HR-16 G 6-10.5 T)
แรงบิด (kg-m / rpm) 38 / 3,000
อัตราทดเฟืองท้าย 4.529 (GSR)

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การติดตั้งเทอร์โบ เพื่อความแรง

สำหรับความแรงที่ต้องการจากเครื่องยนต์นั้น ถ้าต้องการให้ออกมามากๆ ก็ต้องเสียตังค์เยอะหน่อย โดยเฉพาะเครื่องยนต์แบบ N/A ที่ดูแล้วต้องลงเงินมาเป็นพิเศษกว่าจะได้ความแรงออกมามากๆ ส่วนใครอยากแรงทางลัดด้วยงบประมาณที่น้อยกว่าก็ต้องติด “หอย” หรือเทอร์โบชาร์จกัน ยิ่งสมัยนี้เทอร์โบดูจะเป็นที่ต้องการใช้ของวัยแรงเครื่องยนต์เดิม ๆ จึงมักเอาเข้ามาติดเข้าไปทั้งนั้น แม้แต่เหล่าขุนพลตัวแรงสไตล์ N/A อย่างพวกเครื่องยนต์ VTEC ของ HONDA ก็หันมาติดเทอร์โบเพิ่มเข้าไปทั้งนั้น

ประเด็น หลักๆ ของการติดเทอร์โบเข้าไปนอกจากการเลือกขนาดเทอร์โบที่จะใช้ หรือรูปแบบของการติดตั้ง ไม่ว่าจะเป็นแบบดูดหรืออัดก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือ ความละเอียดในการติดตั้ง และคุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมด้วยนั่นแหละ ในการเชื่อมท่อและส่วนประกอบต่างๆ ขึ้นมานั้น เราดูกันได้ตั้งแต่การต่อท่อร่วมไอเสียที่จะต่อให้ไอเสียเป่าเข้าไปยัง เทอร์โบ ซึ่งรอยต่อเชื่อมภายนอกนั้นทุกที่สามารถทำได้สวยเหมือนกันหมดเพราะสามารถ เจียแต่งกันให้เรียบได้ แต่ที่สำคัญคือ รอยต่อของแป็ปภายในชนกันสนิทหรือไม่ นั้นละจุดสำคัญ ส่วนเรื่องต่อไปคือ เศษเหล็กที่ละลายเนื่องจากการเชื่อมในท่อไอเสียเป็นเม็ดกลมเล็กๆ ที่ติดอยู่ภายในท่อรอบจุดที่เชื่อมนั้นต้องสกัดออกให้หมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านก่อนเข้าเสื้อเทอร์โบไอเสียหรือเสื้อเทอร์ไบน์นั่นเอง เพราะความร้อนขณะที่เทอร์โบทำงานเต็มที่นั้น นอกจากเสื้อเทอร์ไบน์จะร้อนจน “แดง” แล้วที่ท่อไอเสียหรือเฮดเดอร์ก่อนเข้าตัวเทอร์โบนี้ก็จะร้อนจน “แดง” เหมือนกัน ซึ่งเศษจากเชื่อมเหล่านี้สามารถจะหลุดออกมาในภายหลังได้ และมันต้องผ่านเข้าไปในเสื้อเทอร์ไบน์ ซึ่งหากเกิดการติดขัดในนั้นจะทำให้ตัวเสื้อสึกหรอหรือผิดปกติได้ ถ้าเป็นด้านไอเสียก็ยิ่งไปกันใหญ่เลย ลองนึกภาพหากมีเศษเหล็กซักเม็ดเล็กๆ เข้าไปในกระบอกสูบจะเป็นอย่างไร “บรรลัยซิครับ”

ต่อไปก็เป็นท่อเสีย ที่ออกจากตัวเทอร์โบ การติดตั้งที่ดีนั้นหากคำนึงถึงความสวยงามภายนอกเป็นสำคัญท่อไอเสียด้านเข้า เทอร์โบอาจดูสวยโค้งได้รูป แต่หากทางออกซึ่งอยู่ติดกับผนังห้องเครื่องด้านข้างหรือด้านหลังนั้นมีผล เสีย เพราะตัวท่อไอเสียก็จะต้องถูกดัดให้กดลงด้านล่างมากๆ ทำให้ไอเสียออกได้ยาก ซึ่งจะมีปัญหาตามมาในภายหลัง ถ้านิดหน่อยก็แค่ม้าหายไปไม่กี่ตัว แต่ถ้าเป็นเครื่องที่ให้แรงม้ามากๆ อาจมีปัญหาความร้อนสะสมในเครื่องยนต์สูงเกินไป เนื่องจากไอเสียออกไม่ทันก็ได้ ส่วนเรื่องของท่อไอเสียต่อไปก็คือ ขนาดของท่อทางด้านออกตั้งแต่หลังหน้าแปลนเทอร์โบเป็นต้นไป ซึ่งที่ถูกแล้วควรจะใช้ขนาดเดียวกับช่องทางออกที่ตัวเทอร์โบเป็นเกณฑ์ เช่น ถ้าที่ตูดเทอร์โบมีรูหรือช่องทางออกโตขนาด 2.5 นิ้ว เราก็ควรใช้ท่อไอเสียขนาดนั้นโดยตลอด และหากเป็นท่อไอเสียที่ใช้ในการแข่งขันของเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1,800 ซีซี ขึ้นไปจนถึง 3,000 ซีซี ก็ควรใช้ขนาดต่ำกว่า 2.5 นิ้ว และท่อในหม้อพักเก็บเสียงก็ต้องเป็นขนาดเดียวกันด้วย ถ้าเป็นเครื่องยนต์ใช้งานทั่วไปเราอาจใช้หม้อพักใบใหญ่แบบไส้ตรงเพียงใบ เดียวก็เพียงพอที่จะเก็บเสียงได้แล้วล่ะ ในกรณีที่ห้องเครื่องมีที่ไม่พอให้ใช้ท่อไอเสียขนาดใหญ่ สามารถทำได้โดยใช้หน้าแปลนและท่อไอเสียทางด้านตัวติดเทอร์โบเป็นขนาดใหญ่ เท่าช่องทางในตัวเทอร์โบ แล้วลดขนาดลงเป็นรูปกรวยหลังจากพ้นปากเทอร์โบมาได้ประมาณ 6 นิ้ว และต่อเป็นท่อขนาดเล็กลงเท่าที่จำเป็นได้โดยไม่เกิดปัญหาอะไร ส่วนด้านไอดีก็เช่นกัน ความสะอาดภายในต้องมาเป็นอันดับแรก และที่สำคัญคือ ต้องพยายามให้ท่อสั้นที่สุด มีจุดหักโค้งน้อยที่สุด และพยายามใช้โค้งรัศมีมากๆ เข้าไว้

ตัวไส้กรองอากาศต้องมีขนาดใหญ่พอ ยิ่งถ้าใหญ่ขึ้นกว่าเดิมได้ยิ่งดี และควรใช้แต่ไส้กรองที่มีคุณภาพเท่านั้น เพื่อความคงทนและประสิทธิภาพการดูดที่ดีที่สุดของเครื่องยนต์ สำหรับเครื่องยนต์ที่มีอินเตอร์คูลควรเลือกใช้ขนาดที่เหมาะสมทั้งด้านขนาด และการติดตั้ง ต้องให้ได้สัดส่วนที่ดี มิฉะนั้นแล้วอาจกลายเป็นเครื่องมือช่วยทอนกำลังเครื่องยนต์ให้ลดลงได้แทนที่ จะดีขึ้น ตำแหน่งที่ติดตั้งอินเตอร์คูลนั้นจะต้องให้มีอากาศเย็นถ่ายเทได้อยู่เสมอ ด้วย โดยพวกกันชนบังไว้ก็ “จบเห่” นะ สายท่อน้ำมันที่ไปเลี้ยงแกนเทอร์ไบน์ของเทอร์โบนั้น หากเป็นไปได้ควรใช้สายชนิดที่เป็นสแตนเลสถักหุ้มรอบจะดีที่สุดตัวสายไหลกลับ ของน้ำมันเครื่องก็ต้องให้มีขนาดโตพอและไม่คดเคี้ยว ถ้าเป็นไปได้ต้องสั้นที่สุด และหากมีการเชื่อมต่อสายไหลหลับเข้ากับอ่างน้ำมันเครื่องแล้ว ควรถอดอ่างมาเชื่อมด้านนอกและถ่ายน้ำมันเครื่องทิ้งทุกครั้ง ส่วนน้ำมันเครื่องต้องใช้แต่ชนิดที่มีคุณภาพสูงเท่านั้น ขืนใช้แบบธรรมดามันจะกลายเป็น “งก” ไม่เข้าเรื่องและที่สำคัญคือ จุที่น้ำมันไหลกลับเข้าสู่อ่างนั้นจะต้องอยู่สูงกว่าระดับน้ำมันเครื่องใน อ่างขณะที่เครื่องยนต์ทำงานอยู่เสมอ หลายคนอาจไม่เชื่อว่าเทอร์โบของคุณอาจชำรุดได้ทันทีที่น้ำมันเครื่องไหลกลับ ไม่ทันและขังอยู่ในด้านไอดีของเสื้อเทอร์โบ เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ติดแล้วไม่ควรเร่งเครื่องทันที ให้ดูรอยรั่วของน้ำมันเครื่องรวนถึงท่อไอดีไอเสียต่างๆ ทั้งหมด แล้วจึงค่อยๆ เร่งรอบเครื่องยนต์ขึ้นไป

ข้อควรระวังสำหรับผู้ใช้ก็ คือ “สมควร” จะใช้น้ำมันเครื่องที่ดีที่สุดเท่าที่จะซื้อมาใช้ได้ โดยที่ไม่ลำบากนัก อย่าเพิ่มบูสท์มากเกินไปแล้วกันโดยเฉพาะพวกเครื่องที่ใช้ไส้ในเดิมๆ อันสุดท้ายก็คือ ถ้าไม่มีออย์คูลเลอร์ดีๆ ติดไว้ด้วยแล้ว ไม่ว่าน้ำมันเครื่องอะไรก็เอาไว้ไม่อยู่ หากคุณแช่รอบเครื่องยนต์ที่บูสท์สูงนานๆ เกิน 3 นาทีก็ไม่ค่อยดีแล้ว ซึ่งในเครื่องยนต์ธรรมดาถ้าแช่กันที่ความเร็วประมาณ 170 กม./ชม. ความร้อนน้ำมันเครื่องจะอยู่ที่ 12 C เมื่อเราลดความเร็วลงสัก 3-4 นาที ความร้อนของน้ำหล่อเย็นจะอยู่ประมาณ 85 ทั้งๆ ที่ความร้อนอขงน้ำหล่อเย็นจะอยู่ที่ประมาณ 8 C ตลอด หากเร่งเครื่องจะขึ้นเร็วพอๆ กับเข็มวัดความเร็วเลยที่เดียว ไม่เชื่อลองติดเกจ์วัดความร้อนน้ำมันเครื่องที่อ่างน้ำมันเครื่องดูด้วยซิ ครับ คุณจะได้ขับรถเป็นมากขึ้นกว่าเดิมเมื่อเห็นเข็มวัดคาวมร้อนของน้ำมันเครื่อง แซงเข็มวัดความเร็วทุกครั้งเมื่อใช้รอบเครื่องยนต์กว่า 5,000 รอบต่อนาทีขึ้นไป แล้วถ้าเป็นเครื่องยนต์ติดตั้งเทอร์โบด้วยความร้อนน้ำมันเครื่องยิ่งสูงใหญ่ เลย

สุดท้ายถ้าติดตั้งเทอร์โบเพื่อเพิ่มความแรงไปแล้ว แต่ไส้ในยังเป็นของเดิมจากโรงงาน กรุณาอย่า “เปรี้ยว” ปรับบูสท์สูงๆ เพราะลูกสูบอาจจะออกมา “นอนยิ้ม” อยู่ข้างนอกเครื่องยนต์ได้ ขอให้สนุกแลปลอดภัยกับการขับรถนะครับ

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วิธีการดริฟ dift

วิธีการดริฟท์
การดริฟท์ หมายถึง ความต่างของมุมการไถลระหว่างยางหน้าและหลังของรถ เมื่อล้อหลังลื่นไถลด้วยมุมที่มากกว่าล้อหน้า นั่นคือรถกำลังดริฟท์อยู่ หรือคือการโอเวอร์สเตียร์ ด้านท้ายของรถจะกวาดออกตลอดโค้ง คนขับจะใช้ประโยชน์จากยางหน้าและหลัง เพื่อควบคุมรถให้ไปในทิศทางที่ต้องการ ยิ่งเดินคันเร่งก็จะยิ่งเพิ่มมุมการไถลของล้อหลังทำให้ท้ายยิ่งกวาดจนแทบจะ หมุนเลยทีเดียว ประเด็นก็คือเพื่อให้คนขับสามารถใช้พวงมาลัยและคันเร่งในการทำให้มุมของรถ และทิศทางที่รถกำลังมุ่งไปสมดุลกัน

การดริฟท์ คือ สไตล์การขับที่ต้องทำโอเวอร์สเตียร์เข้าหาโค้ง และผ่านโค้งนั้นไป โดยปกตินั้นจะสามารถทำได้ด้วยรถที่เป็นระบบขับเคลื่อนด้วยล้อหลัง เพราะลักษณะการถ่ายกำลังและการถ่ายเทน้ำหนักของมัน เหมาะสมสุด ๆ สำหรับการนี้โดยเฉพาะ การดริฟท์อาจจะใช้เพื่อความสนุก ซึ่งมีจุดประสงค์ที่ว่าผสมผสานระหว่างความสนุกกับการเสริมทักษะในการควบคุม รถ หรือใช้ในการแข่งก็ได้ การแข่งดริฟท์ เป็นการแข่งที่ดูจากสไตล์มากกว่าความเร็วที่วิ่งได้ต่อรอบ หรือ ตำแหน่งตอนเข้าเส้นชัย เกณฑ์การตัดสินหลัก ๆ จะขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัยได้แก่ 1. มุมการเข้าโค้ง 2. ไลน์ 3. ความเร็ว 4. ลูกเล่นหรือสไตล์

การดริฟท์ไม่ใช่วิธีที่ทำให้ไปได้เร็วที่สุดในสนามแข่ง แต่การดริฟท์จะมีประโยชน์มากอย่างเช่นในการแข่งแรลลี่ แต่ในการแข่งเซอร์กิตนั้น การดริฟท์จะทำให้รถไปได้ช้ากว่าการใช้เทคนิคธรรมดา


ประวัติการดริฟท์

การดริฟท์มีต้นกำเนิดมาจากพวกนักแข่งตามถนนบนภูเขาแถบชนบทของประเทศญี่ปุ่น เป็นการแข่งบนถนนบนภูเขา (เรียกว่า โทเกะ) จนในที่สุดก็พัฒนามาเป็นรายการแข่งที่ต้องใช้ทุน และการโฆษณาต่าง ๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนและอนุมัติโดยองกรณ์ และจัดแข่งตามสนามแข่งเอกชนต่าง ๆ การดริฟท์ในสหรัฐอเมริกาเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1996 ซึ่งเป็นรายการแข่งที่จัด ณ สนามแข่ง Willow Springs, California จัดขึ้นโดย นิตรยสาร Option แต่มันก็ไม่ได้รับความนิยมจนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 2002 นักดริฟท์ชาวญี่ปุ่นก็ยังคงถือว่าเป็นผู้นำในด้านเทคนิค และการปรับปรุงรถ แต่พวกอเมริกันเองก็พัฒนาตัวเองและตามขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

ตามข่าวลือนั้น Keiichi Tsuchiya เมื่อตอนแข่งรถอยู่ และอยู่ในอันดับรั้งท้าย เขาตัดสินใจที่จะเหวี่ยงรถผ่านโค้ง ทำให้เหล่าฝูงชนรู้สึกตกตะลึงและรู้สึกประหลาดใจไปตาม ๆ กัน ภายหลัง Tsuchiya เรียกมันว่า “การดริฟท์” ในขณะที่นี่อาจไม่ใช่ต้นกำเนิดของมัน แต่มันก็เป็นที่มาของชื่อและการแสดงให้คนอื่นเห็นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1977 Keiichi เริ่มต้นอาชีพการแข่งของเค้าด้วยการขับรถหลายคัน ในการแข่งระดับมือสมัครเล่นรายการต่าง ๆ การแข่งในรถที่ไม่ค่อยมีกำลังแบบนี้ค่อนข้างยาก แต่ก็ทำให้ได้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี ต่อมา Keiichi ก็มีโอกาสได้ขับรถ Toyota AE86 Sprinter Trueno ซึ่งมีสปอนเซอร์หลักคือ ADVAN ในหลาย ๆ การแข่ง ในขณะที่เข้าโค้งขาลง เขาจะดริฟท์รถของเค้า และทำให้ได้ความเร็วขณะเข้าโค้งมากกว่าคู่แข่งคนอื่น ๆ ของเค้า เทคนิคนี้ ทำให้เค้าได้รับการขนานนามว่าเป็น Drift King ไม่ใช่เพราะอย่างที่หลายคนเข้าใจว่าเค้าเป็นคนแรกที่ดริฟท์

หลาย ๆ เทคนิคซึ่งใช้กันในปัจจุบันในการดริฟท์นั้นถูกพัฒนาขึ้นโดยเหล่านักแข่ง แรลลี่บนทางวิบาก ทางฝุ่น หรือแม้แต่บนหิมะ บนพื้นผิวถนนเช่นนั้น วิธีที่จะเข้าโค้งได้เร็วที่สุดก็คือการสไลด์

ในปัจจุบันนี้ การดริฟท์ได้มีวิวัฒนาการจนกลายเป็นกีฬา ซึ่งนักขับต้องแข่งกันในรถที่มีระบบขับเคลื่อนล้อหลัง เพื่อสไลด์ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการแข่งระดับสูง โดยเฉพาะการแข่ง D1 Grand Prix ในประเทศญี่ปุ่น ในสหราชอาณาจักร และในสหรัฐอเมริกา นักขับสามารถที่จะทำให้รถของเค้าสไลด์อยู่ได้นาน และสไลด์ผ่านโค้งหลาย ๆ โค้งติด ๆ กันได้ การแข่งดริฟท์นั้นไม่ได้ตัดสินจากการที่ดูว่าใช้เวลาเท่าไหร่ในการวิ่งวนครบ รอบสนาม แต่ดูจากการเข้าไลน์ มุม ความเร็ว และปัจจัยในการแสดง ไลน์ เกี่ยวกับการเข้าให้ถูกไลน์ ซึ่งโดยปกติจะถูกกำหนดและบอกไว้ก่อนโดยกรรมการ มุม คือมุมของรถในตอนดริฟท์ ยิ่งมากยิ่งดี ความเร็ว คือความเร็วตอนเข้าโค้ง ตอนผ่านโค้ง และตอนออกจากโค้งไปแล้ว ยิ่งเร็วยิ่งดี

ปัจจัยการแสดง นั้นขึ้นอยู่กับหลาย ๆ อย่าง เช่น จำนวนของควันยาง รถเฉียดกำแพงมากขนาดไหน มันขึ้นอยู่กับว่าทุกอย่างดู “เจ๋ง” ขนาดไหน ในรอบสุดท้ายของการแข่งมักจะเป็นการแข่งของรถดริฟท์สองคันซึ่งเรียกเล่น ๆ กันว่า “tsuiso” (การวิ่งไล่กัน) ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งคือการที่รถคันนึงไล่รถอีกคันนึงในสนาม เพื่อพยายามที่จะไล่ให้ทัน หรือแม้แต่แซงรถคันข้างหน้า ในรอบ tsuiso นี้ มันไม่เกี่ยวกับไลน์ในการดริฟท์ แต่ขึ้นอยู่กับว่านักดริฟท์คนไหนดริฟท์ได้น่าตื่นตาตื่นใจมากกว่ากัน โดยปกติแล้ว รถคันที่นำ จะทำมุมการดริฟท์แบบสุด ๆ แต่ก็ยังหัวชิดโค้งอยู่เพื่อบังกันไม่ให้โดนแซง รถคันที่ตามโดยปกติจะดริฟท์ด้วยมุมที่น้อย ๆ แต่จะใกล้กับคันหน้ามาก ๆ รถไม่จำเป็นต้องตามให้ทัน และในความเป็นจริงแล้วในบางกรณี รถที่ถูกทิ้งในทางตรงหากดริฟท์สวยก็จะชนะในรอบนั้นไปเลย การหมุน การอันเดอร์สเตียร์ หรือการชนกันนั้นจะส่งผลให้ตกรอบนั้นไปเลย

รถที่ใช้ในการดริฟท์

รถขับเคลื่อนล้อหลังคันไหนก็ดริฟท์ได้ (แต่จะดีกว่าหากมี limited-slip differential) และรถขับเคลื่อสี่ล้อบางคันก็ดริฟท์ได้ โดยส่วนมากแล้ว จะดริฟท์ด้วยมุมที่น้อยกว่า แต่จะเข้าเร็วกว่า รถที่ใช้แข่งที่ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกาได้แก่ Nissan 240SX (เป็นเวอร์ชั่นที่ใช้เรียกในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นก็คือ Nissan Silvia นั่นเอง), Nissan 350Z, Toyota Corolla GT-S, Mazda RX-7 และ Honda S2000 เมื่อเร็ว ๆ นี้ พวกที่ชอบรถผลิตภายในประเทศ (สหรัฐอเมริกา) ก็มาลงแข่งด้วยรถอย่าง Ford Mustang, Pontiac GTO และ Dodge Viper

ในประเทศญี่ปุ่นนั้น รถดริฟท์ระดับท๊อปได้แก่พวก S13, S14 และ S15, Toyota AE86 Sprinter Trueno และ Corolla Levin, Nissan Skyline (ตัวขับเคลื่อนล้อหลังอย่าง ER34 ซึ่งเป็นรถ 4 ประตูและในรุ่นก่อนหน้านี้อย่าง HCR32), Mazda RX-7 ทั้งตัว FC และ FD, Toyota Altezza, Toyota Aristo, Nissan Z33 Fairlady Z, Nissan Cefiro, Nissan Laurel, Toyota Soarer และเหล่ารถที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด

และก็ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ในเรื่องที่ว่า รถขับเคลื่อนล้อหน้าดริฟท์ได้หรือไม่ โดยนิยามทางเทคนิคแล้ว (ล้อหลังลื่นไถลในมุมที่มากกว่าล้อหน้า) มันดริฟท์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม หลายคนเห็นว่า รถขับเคลื่อนล้อหน้า เป็นตัวเลือกที่ไม่ดีสำหรับการดริฟท์ เพราะการที่ต้องใช้เบรกมือบ่อย (ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการจะดริฟท์รถขับเคลื่อนล้อหน้า) ซึ่งทำให้มันวิ่งช้าลงและยากต่อการควบคุม รวมถึงเพราะการที่มันล้อหน้าเพื่อทั้งการเลี้ยวและขับเคลื่อน การที่รถหลุดจากการควบคุมหลังจากการสไลด์เพียงครั้งเดียว ในขณะที่รถขับเคลื่อนล้อหลังสามารถที่จะดริฟท์ผ่านโค้งที่ต่อเนื่องได้ หากมองกันในมุมนี้ และนี่คือนิยามของการดริฟท์แล้วล่ะก็ รถขับเคลื่อนล้อหน้าไม่สามารถที่จะดริฟท์ได้ ได้แค่การทำพาวเวอร์สไลด์ แต่อย่างไรก็ตาม นักดริฟท์บางคน เช่น Kyle Arai หรือ Keisuke Hatakeyama ใช้รถ Civic EF ในการดริฟท์ และก็ประสบความสำเร็จในการทำเช่นนั้นด้วย บางครั้งก็สามารถเอาชนะคู่แข่งที่เป็นรถขับเคลื่อนล้อหลังด้วย

รถขับเคลื่อน 4 ล้อ เช่น Subaru Impreza WRX STi และ Mitsubishi Lancer Evolution นั้น ดริฟท์ด้วยมุมที่ต่างออกไป และโดยปกติจะทำโดยการ power-over เพราะการที่ล้อหน้าของมันเป็นล้อขับเคลื่อนด้วยในรถขับเคลื่อน 4 ล้อ จึงเป็นที่สังเกตได้ง่ายว่า มันจะใช้การ counter steer น้อย การแข่ง D1 และ การแข่งระดับมืออาชีพรายการอื่น ๆ ไม่อนุญาตให้รถขับเคลื่อน 4 ล้อลงแข่ง แต่อย่างไรก็ตาม รถอย่าง Impreza และ Lancer ก็ถูกแปลงให้เป็นรถขับเคลื่อนล้อหลังและก็สามารถลงแข่งในรายการที่ห้ามรถขับ เคลื่อน 4 ล้อลงแข่งได้



การดริฟท์


Keiichi Tsuchiya หรือ Drift King


เทคนิคการดริฟท์

มันมีหลายวิธีเพื่อที่จะดริฟท์ ซึ่งได้แก่ (หมายเหตุ : ควรปิดระบบ ABS และ TCS ก่อน เพราะระบบเหล่านี้ถูกสร้างมาเพื่อกันไม่ให้รถเกิดการสไลด์)

-Braking Drift- การดริฟท์ชนิดนี้ทำได้โดยการ เหยียบเบรกอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่โค้ง เพื่อที่ว่าจะได้ทำให้รถนั้นสามารถถ่ายน้ำหนักและทำให้ล้อหลังสูญเสียแรงยึด เกาะ จากนั้นก็ควบคุมการดริฟท์ด้วยพวงมาลัยและคันเร่ง การปรับอัตราการจับของเบรกก็ช่วยในการดริฟท์ได้ ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับสไตล์การขับของแต่ล่ะคน โดยปกติแล้ว หากอัตราการจับของเบรกค่อนไปทางล้อหลังจะช่วยให้เกิดการดริฟท์ได้ดีกว่า

-Power Over Drift- การดริฟท์ชนิดนี้ทำได้โดยการ เข้าโค้งทั้ง ๆ ที่เหยียบคันเร่งเต็มที่ก่อให้เกิดการโอเวอร์สเตียร์เมื่อถึงโค้ง มันเป็นวิธีดริฟท์โดยทั่วไปสำหรับพวกรถขับเคลื่อน 4 ล้อ (ได้ผลดีกว่ารถขับเคลื่อนล้อหลัง) Keiichi Tsuchiya เคยบอกว่าเค้าก็เคยใช้เทคนิคนี้เมื่อตอนที่เค้ายังหนุ่ม และกลัวที่จะดริฟท์เมื่อถึงโค้ง แต่อย่างไรก็ตาม เทคนิคนี้จะก่อให้เกิดอาการล้อฟรีทิ้งมากกว่าการดริฟท์หากเข้าด้วยมุมที่ผิด

-Inertia (Feint) Drift- เทคนิคนี้สามารถทำได้โดยการโยกรถไปในทิศทางตรงกันข้ามกับโค้งและหลังจากนั้น ก็อาศัยแรงเฉื่อยของรถ เพื่อเหวี่ยงรถกลับมาในทิศทางของโค้ง จากการที่เราหักหัวออกนอกโค้ง และหักกลับมาอย่างเร็ว คุณก็จะได้มุมที่ดีกว่า ในบางครั้ง การเบรกระหว่างที่เหวี่ยงรถไปในทิศทางตรงกันข้ามกับโค้งนั้นก็ช่วยในเรื่อง ของการถ่ายเทน้ำหนักเช่นกัน และจะทำให้เข้าโค้งได้ดีกว่าเดิมอีก นักดริฟท์มืออาชีพหลายคนกล่าวไว้ว่า นี่เป็นหนึ่งในเทคนิคทำได้ยากที่สุด เนื่องจากมีโอกาสหมุนสูง

-Handbrake/ebrake Drift- เทคนิคนี้ค่อนข้างจะง่าย ดึงเบรกมือเพื่อให้ด้านหลังสูญเสียแรงยึดเกาะและควบคุมการดริฟท์ด้วยพวง มาลัยและการเดินคันเร่ง มีบางคนถกเถียงกันในเรื่องนี้ว่าการใช้เบรกมือนั้น ก่อให้เกิดการดริฟท์ หรือเป็นเพียงแค่พาวเวอร์สไลด์ แต่ในท้ายที่สุดแล้ว การใช้เบรกมือก็ไม่ต่างจากเทคนิคอื่น ๆ เพื่อดริฟท์ โดยทั่วไปแล้วนี่เป็นเทคนิคหลักสำหรับการดริฟท์รถขับเคลื่อนล้อหน้า นี่เป็นเทคนิคแรกที่มือใหม่จะใช้หากรถของเค้าไม่มีแรงกำลังมากพอที่จะทำให้ รถสูญเสียแรงยึดเกาะด้วยเทคนิคอื่น ๆ และเทคนิคนี้ก็ใช้กันอย่างมากในการแข่งดริฟท์เพื่อดริฟท์ในโค้งกว้าง

-Dirt Drop Drift- เทคนิคนี้ทำได้โดยการให้ล้อหลังของรถตกลงไปข้างทางที่เป็นดินเพื่อรักษาหรือ เพื่อให้ได้มุมการดริฟท์โดยไม่สูญเสียกำลังหรือความเร็ว และเพื่อที่จะเตรียมสำหรับโค้งต่อไป เทคนิคนี้ใช้ได้เฉพาะกับถนนที่ไม่มีแผงกั้นและมีดินหรือฝุ่นหรืออะไรอย่าง อื่นที่ทำให้สามารถสูญเสียแรงยึดเกาะได้ นี่เป็นเทคนิคที่ใช้กันโดยทั่วไปในการแข่งแรลลี่ WRC

-Clutch Kick- เทคนิคนี้ทำได้โดยการเบิ้ลคลัทช์ (การเหยียบและปล่อย ปกตจะกระทำมากกว่า 1 ครั้งในการดริฟท์เพื่อการแต่งโค้งด้วยความรวดเร็ว) เพื่อให้แรงขับเคลื่อนเกิดการสะดุด ทำให้รถเสียสมดุล มันทำให้ล้อหลังเกิดอาการลื่นไถลและทำให้คนขับสามารถก่ออาการโอเวอร์สเตีย ร์ได้

-Choku Dori- นี่เป็นเทคนิคขั้นสูงซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้หนี่งในเทคนิคที่กล่าวมาข้าง ต้นเพื่อเริ่มการดริฟท์ จากนั้นก็ใช้เบรกมือเพื่อการยืดการดริฟท์ในโค้ง

-Changing Side Swing- เทคนิคนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในการแข่ง D1 ในญี่ปุ่น และมีความคล้ายคลึงกับ Inertia (Feint) Drift เป็นอย่างมาก ส่วนมากมันจะถูกใช้ในตอนที่จะดริฟท์โค้งแรก ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นโค้ง Double Apex และอยู่ต่อจากทางตรงยาว หากทางตรงยาวที่อยู่ก่อนโค้ง Double Apex นั้นมีลักษณะเป็นทางลง นักขับจะขับชิดขอบสนามด้านในโค้ง จากนั้น ด้วยการกะจังหวะที่ถูกต้อง นักขับจะเหวี่ยงหักรถไปอีกด้านนึงทันที การทำแบบนี้ ทำให้โมเมนตัมของรถเปลี่ยนไป ทำให้ล้อหลังสูญเสียแรงยึดเกาะ ตอนนี้รถอยู่ในช่วงดริฟท์แล้ว หลังจากนั้นก็ดริฟท์อย่างต่อเนื่องไปจนผ่านโค้ง

-Manji Drift- เทคนิคนี้ใช้ตอนดริฟท์บนทางตรง ผู้ขับจะเหวี่ยงรถสลับข้างไปมาระหว่างดริฟท์ ซึ่งดูน่าทึ่งมาก มันสามารถใช้เป็นเทคนิคนำก่อนจะใช้เทคนิคต่อ ๆ ไปในข้างต้นก็ได้

-Dynamic Drift- เทคนิคนี้จะคล้าย ๆ กับ Choku Dori มันใช้รูปแบบของเทคนิคด้านบนทั้งหมด และไม่จำกัดเพียงแค่ 1 เทคนิค นำมารวมกันเพื่อให้ได้การดริฟท์ที่วางเอาไว้

ข้อเท็จจริงน่ารู้เกี่ยวกับการดริฟท์

- สำหรับนักขับชาวญี่ปุ่นที่ต้องการเข้าถึง D1 พวกเขาจะต้องผ่านหนึ่งในรายการของ Option ให้ได้ซะก่อน “Ikaten” นี่คือที่ที่เหล่ามือสมัครเล่นจะมาพิสูจน์ฝีมือตัวเองเพื่อให้ได้เป็นส่วน หนึ่งของ D1 หากพวกเขาได้รับการคัดเลือก พวกเขาจะได้รับ “D1 License” ซึ่งทำให้พวกเขามีโอกาสเข้าสู่รอบคัดเลือกของ D1 ประเทศอื่นที่ไม่ใช่ญี่ปุ่นค่อนข้างจะได้รับสิทธิพิเศษหน่อยตรงที่แค่ไปงาน “Driver’s Search” เพื่อที่จะได้ D1 License

- Kumakubo เป็นเจ้าของสนาม Ebisu ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม D1 มีต้นกำเนิดมาจากที่นั่น และก็เป็นอีกเหตุผลที่ว่าทำไม Kumakubo ถึงขับได้ดีในรอบ Tsuiso

- คุณอาจเคย สังเกตเห็นคำว่า “Big X” บนฝากระโปรงรถของ Kumakubo Big X คืองานโชว์กลางแจ้งที่รวมเอาการโชว์ดริฟท์ โมโตครอส และกีฬา Xtreme อื่น ๆ รวมไว้ด้วยกัน โดยนำเอาระดับท๊อป ๆ ของแต่ละแขนงมารวมตัวกัน

- กลุ่มดริฟท์ ของ Big X มีชื่อเรียกว่า Drift Xtreme ซึ่งนักแข่งชั้นนำของ D1 จะถูกเชิญให้เข้าร่วมเมื่อเค้าเริ่มเป็นที่รู้จัก คุณจะเห็นสติ๊กเกอร์ Drift Xtreme บนรถ D1 หลายคัน ยกตัวอย่างเช่น Nobushige Kumakubo, Nomura Ken, Kazama Yasuyuki, Miki Ryuji, Kazuhiro Tanaka, และ Yuki “Dirt” Izumida

- Taniguchi Nobuteru ขับรถมาสี่คันแล้วกับ HKS ในการแข่ง D1 ก็มี RS1 Hyper Silvia S15 (ซึ่ง Keiichi Tsuchiya เอาไปมิดมา อาจมีคนเคยเห็นคลิปนี้แล้ว) และ RS2 Hyper Silvia S15 อีกสองคัน (คันนึงจาก HKS Power Japan อีกคันจาก HKS Europe) และคันสุดท้าย Genki RP Atltezza ซึ่งถูกออกแบบให้ไม่มีของแต่งต้นแบบหรือของแต่งตัวทดลองของ HKS เลย เพื่อจุดประสงค์ที่ว่า นักดริฟท์ทั่วไป สามารถแต่งตามแบบรถคันนี้ได้ (แต่ในขณะที่แปลบทความนี้ รู้สึกเค้าจะมีรถใหม่อีกคันแล้ว เป็น Toyota Aristo สีแดง)

- นักแข่ง D1 หลายคนดังมากทั้งในญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา และมักจะมีอีกอาชีพทำอยู่ในการแข่ง Super GT หรือ Super Taikyu เช่น Manabu Orido และ Taniguchi Nobuteru เป็นต้น และ Keiichi Tsuchiya เอง ก็ทำงานเป็นผู้จัดการให้กับทีมในการแข่ง Super GT ด้วย

- สำหรับการ แข่ง Super GT Manabu Orido ขับ Advan Eclipse Supra ในคลาส GT500 Nobuteru Taniguchi ขับ WEDSSPORT Celica ในคลาส GT300 ทั้งคู่อยู่ในทีมเดียวกันในการแข่ง Super Taikyu และขับ Porsche GT3 สำหรับ Keiichi Tsuchiya นั้นเคยขับ Arta NSX ในคลาส GT500 แต่ปัจจุบันเป็นผู้จัดการให้กับ Super Autobacs Garaiya ในคลาส GT300

- นักขับของทีม RE Amemiya, Masao Suenaga ได้ถูกเลือกโดยตัวของ Isami Amemiya เองเลยเพื่อให้มาขับ FD สีฟ้าคันนั้น เค้ามี Kumakubo เป็นอาจารย์ เช่นเดียวกับพี่/น้อง ของเค้า Naoto Suenaga ซึ่งก็มี D1 License เหมือนกัน

- หลายคนเคยถาม ว่าทำไมลายไวนิลหรือสติกเกอร์บนด้านข้างของรถนั้น ติดแบบกลับด้านจากซ้ายไปขวา นี่ไม่เกี่ยวกับความมักง่ายของผู้ผลิตหรือกฎใด ๆ มันเป็นเรื่องของสไตล์มากกว่า

- ถนนบนภูเขา บางเส้นเช่นบนภูเขา Haruna (ภูเขา Akina นั่นแหละ) มีเส้นดักความเร็วขนาดใหญ่บนถนน เนินเหล่านี้มีขึ้นเพื่อกันการแข่งกันบนภูเขา โดยปกติมันจะอยู่ตรงช่วงก่อนเข้าและออกจากโค้ง เช่น ตรงโค้งแฮร์พินติดกัน 5 โค้งรวดบน Haruna ในระยะหลังนี้ การป้องกันต่าง ๆ มีขึ้นเพื่อป้องกันการแข่งกันบนภูเขา นี่รวมถึงการขยายรั้วกั้นด้วยเพื่อป้องกันไอ้พวกบ้าการ์ตูนบางคนกระโดดตัด โค้งบนเนินอิโรฮะตามแบบในการ์ตูนเรื่อง Initial D ตอนทาคุมิแข่งกับ MR2

- ในประเทศ ออสเตรเลียเองนั้นการดริฟท์มีต้นกำเนิดมาจากทางแถบภูเขาทางใต้ของออสเตรเลีย โดยการรับวัฒนธรรมมาจากญี่ปุ่นเมื่อยุคทศวรรษที่ 90 Adelaide ยังคงเป็นที่รู้จักกันในนาม “the Home of Aussie drift”

แข่งรถ
ที่มา http://www.prc.ac.th/tboard/aspboard_Question.asp?GID=1042
 
สังคมของคนใช้มอเตอร์ไซด์ออโตเมติก | coyote | car | ฟังเพลงออนไลน์ เนื้อเพลง | free music and music lyrics