วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของค้ำโช้ค

ส่วนใหญ่ ค้ำโช้ค หรือ ค้ำสารพัดต่าง ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดี นั้น คุณรู้ไหมว่า "ค้ำ" ตัวที่สำคัญที่สุดคือ "ค้ำโช้คหน้า" ลองนึกภาพตามนะครับ คือเมื่อเรายกเครื่องยนต์ออกมา เราจะมองเห็นห้องเครื่องเป็นช่องสี่เหลี่ยมที่ไม่มีอ ะไรเลย ซึ่งตรงจุดนี้แหละเป็นจุดที่อ่อนแอที่สุดของตัวถังรถ โดยเฉพาะด้านบน เพราะไม่มีอะไรค้ำเลย ซึ่งต่างจากด้านล่างเยอะ (เพราะด้านล่างมันยังชิ้นส่วนรถ เช่น คานล่าง มาเป็นตัวช่วยค้ำอยู่แล้ว

ผลลัพธ์ ของการใส่ค้ำโช้คคือ "มันจะช่วยดามตัวถังจุดนั้น" ดังนั้นค้ำตรงไหนที่เกี่ยวกับมุมล้อมันก็จะแข็งที่จุ ดนั้น เมื่อขณะเราขับรถเข้าโค้งตัวถังมันจะเอนรับโค้งด้วย ( จุดนี้เป็นข้อดีของ ตัวถังแบบ MONO COCQUE ) แต่เมื่อเราค้ำตัวถังไว้หลายจุด ตัวถังมันก็จะแข็งขึ้น เพื่อการตอบสนองที่ดีขึ้น และอีกอย่างหนึ่งคือเพื่อไม่ให้มีตัวแปรในการเซ็ทช่ว งล่าง เพราะเมื่อรถเคลื่อนที่มุมล้อจะเปลี่ยนแปลงได้ตามการ บิดตัวของตัวถัง

รถ ที่นำมาทำเป็น "รถดริฟท์" ส่วนใหญ่จะเน้นใส่ค้ำกันทุกจุด เพื่อให้ตัวถังมันแข็งแบบถื่อๆ จะได้ไม่รับกับโค้ง คือตั้งใจไว้ว่าจะให้รถเกิดอาการ "OVER STEER" ในการเข้าโค้งนั่นเอง ซึ่งรถที่ใช้แข่งเซอร์กิตหรือรถทุกประเภทก็เช่นกัน ต้องเซ็ท "OVER STEER" เพราะถ้า "UNDER STEER" จะเลี้ยวเข้าโค้งไม่ได้ "หน้าแถ" ดังนั้นรถเซอร์กิตจะเน้นถึง "GRIP" มากที่สุด

การเซ็ทรถสำหรับแข่ง ขันเซอร์กิต มันต้องตรวจสอบ การกระจายความสมดุลหน้าและหลัง เพื่อไม่ให้รถมันแข็งทั้งคัน แต่ถ้าเราทำให้ตัวถังแข็งแล้ว เราก็ต้องทำช่วงล่างให้อ่อนลงระดับหนึ่งเพื่อเฉลี่ยแ รง เพราะว่าขณะที่รถวิ่ง ตัวถังจะขยับเขยื้อนตามด้วย มันทำหน้าที่เปรียบเสมือนระบบรองรับแรงสั่นสะเทือนใน ตัวด้วย

ความหมายของแรงม้าและแรงบิด

แรงม้าคืออะไร ?
คือ หน่วยอันหนึ่งสำหรับใช้วัดกำลังของเครื่องยนต์ หน่วยวัดกำลังที่นิยมใช้กัน เช่น แรงม้า (HP) และ กิโลวัตต์ (KW)นอกจากนี้ในบางครั้งเราจะเห็นตัวย่อ BHP ซึ่งย่อมาจาก Brake Horse Power หมายถึง กำลังของเครื่องยนต์ที่ได้รับจากเพลาเครื่องซึ่งเท่า กับกำลังที่เครื่องยนต์ ผลิตได้หักออกด้วยแรงเสียดทานภายเครื่องยนต์ ดัง สูตร BHP = IHP - FHP โดยที่ IHP คือ Indicated Horse Power หมายถึงกำลังที่เครื่องยนต์ผลิตได้ และ FHP คือ Friction Horse Power ซึ่งหมายถึงแรงเสียดทานภายในเครื่องยนต์

กำลังของเครื่องยนต์สามารถ คำนวณได้จากสูตร HP = K x Torque x RPM โดยที่ K คือ ค่าคงที่ T คือแรงบิด และ RPM คือความเร็วรอบของเครื่องยนต์ แรงม้าสูงสุดของเครื่องยนต์แต่ละรุ่นแต่ละแบบจะอยู่ท ี่ความเร็วรอบเครื่อง ยนต์แตกต่างกันไปแล้วแต่การออกแบบของผู้ผลิต แล้วแรงม้าเห็นกันในหนังสือ หรือใน specification ต่างๆ นั้นเป็น BHP หรือ IHP คำตอบน่าจะเป็นBHP เพราะเป็นแรงม้าที่ได้มาจากการทดสอบสมรรถนะของเครื่อ งยนต์

แรงบิดคืออะไร

คือ แรงหมุนของเพลาเครื่องยนต์เป็นแรงที่ใช้เพื่อส่งกำลั งของเครื่องยนต์ไปหมุน เกียร์ เพลา และ ล้อรถ เพื่อให้รถเคลื่อนที่ไปได้ แรงบิดจะมีค่าแตกต่างกันไปที่ความเร็วรอบเครื่องยนต์ ต่างๆ ซึ่ง ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิตว่าต้องการให้มีแรงบิ ดสูงสุดอยู่ที่ความเร็ว รอบเครื่องยนต์ต่ำ ปานกลาง หรือ สูง รถที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงก็จะมีอัตราเร่งดี กว่ารถที่ใช้เครื่อง ยนต์ที่มีแรงบิดต่ำกว่า

อะไหล่ ปลอม & เทียบ & เทียม

การซ่อมรถยนต์ ไม่จำเป็นต้องใช้อะไหล่แท้เท่านั้นถึงจะทนทาน เพราะยังมีอะไหล่อื่นที่พอเลือกใช้ได้อย่างคุ้มค่าใน ราคาถูกกว่า

หลาย คนมีความเชื่อว่า อะไหล่อื่นนอกเหนือจากอะไหล่แท้ ในสารพัดชื่อเรียก เช่น อะไหล่เลียนแบบ, อะไหล่ปลอม, อะไหล่เทียบ หรืออะไหล่เทียม ต้องเป็นของที่ไม่ทนทานหรือคุณภาพแย่เสมอไป ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนัก

อะไหล่แท้เชื่อถือได้ด้านคุณภาพ และมีบริษัทรถยนต์ให้การรับรองหรือรับประกันชัดเจน แต่ไม่ได้เป็นทางเลือกเดียวสำหรับการเลือกใช้อะไหล่

อะไหล่แท้คืออะไร
การ ผลิตรถยนต์ทุกรุ่น ต้องมีชิ้นส่วนเข้ามาประกอบมากมายหลายพันหลายหมื่นชิ ้น ถ้าผู้ผลิตรถยนต์จะผลิตเองทุกชิ้น ก็ต้องใช้เงินจำนวนมากในการตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วน อีกทั้งยังต้องมีปัญหาเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีมารองร ับอีกด้วย

เมื่อ ผู้ผลิตรถยนต์ไม่ได้ผลิตชิ้นส่วนเองทั้งหมด ก็ต้องมีการจ้างคนอื่นผลิตส่งให้ โดยผู้ผลิตชิ้นส่วนเหล่านั้นเรียกว่า ซัพพลายเออร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตที่มีความชำนาญเฉพาะทาง เช่น ผลิตโช้กอัพ, ลูกปืน, ยาง, ผ้าเบรก, ลูกหมาก, เบาะ และอื่นๆ เกือบทั้งคันก็ว่าได้ ยกเว้นบางอุปกรณ์ที่ไม่อยากให้เทคโนโลยีรั่วไหลหรือม ีโรงงานอยู่แล้ว บริษัทรถยนต์จึงจะผลิตเอง

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ทราบดีอยู่แล้วว่า ไม่มีทางที่บริษัทรถยนต์จะผลิตเองทั้งคัน แต่อาจจะมองข้ามไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ ยางรถยนต์ แต่พอเป็นชิ้นส่วนอื่น หลายคนกลับนึกว่าบริษัทรถยนต์ผลิตเอง ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะหากผลิตเองต้นทุนจะสูงขึ้นอีกมาก

การสั่งชิ้นส่วนหรืออะไหล่จาก ผู้ผลิตรายย่อยของบริษั ทรถยนต์ มีหลักการชัดเจนในทุกกรณีว่า ราคาถูกที่สุด โดยต้องผ่านมาตรฐานที่กำหนดหรือผ่านการทดสอบ ส่วนชิ้นส่วนที่ดีเกินมาตรฐานแต่ราคาแพง หรือราคาถูกแต่มาตรฐานต่ำกว่า ก็ไม่ผ่านการพิจารณา

โดยมาตรฐานที่ถูกกำหนดขึ้นนั้น ไม่ใช่เลอเลิศมาก เพราะจะทำให้ชิ้นส่วนหรืออะไหล่มีราคาแพงเกินไป

รถยนต์ทุกคันที่จำหน่ายอยู่ทั่วไป ไม่ได้ผลิตให้ดีที่สุด แต่ต้องผลิตให้ผู้ซื้อยอมรับและผู้ผลิตมีกำไรมากที่ส ุด !

บทบาทของซัพพลายเออร์
การ สั่งซื้อชิ้นส่วนของบริษัทรถยนต์ มีทั้งมอบหมายให้เลยเพราะเป็นบริษัทในเครือ (แต่ก็ต้องมีการควบคุมราคาและคุณภาพ) หรือประกวดราคาแข่งกัน โดยผู้ที่เสนอราคาต่ำที่สุดและผ่านมาตรฐานจะได้รับงา นไป แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ผลิตที่ไม่ได้รับมอบหมายจะไม ่สามารถผลิตได้ดี แต่มักจะเป็นเพราะเสนอราคาสูงกว่าคู่แข่ง

ผู้ผลิตชิ้นส่วนเฉพาะทางใน แต่ละกลุ่มมีหลายราย และในรถยนต์ยี่ห้อเดียวกันแต่ต่างรุ่น บางครั้งก็อาจสั่งชิ้นส่วนต่างแหล่งกันในแต่ละล็อตก็ เป็นได้ เพราะเหตุผลด้านราคาเป็นสำคัญ

ชิ้นส่วนที่ประกอบในรถยนต์และอะไหล่ แท้ แน่นอนว่าต้องผ่านมาตรฐาน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะผลิตให้มีคุณภาพเหนือกว่านั้น ไม่ได้ เพราะถ้าไม่ได้ถูกต้นทุนกดไว้ ก็น่าจะมีโอกาสทำได้ดีกว่า

ในส่วนของ บริษัทรถยนต์ นอกเหนือจากการสั่งชิ้นส่วนมาใช้ประกอบรถยนต์ ก็ต้องมีการสั่งมาจำหน่ายเป็นอะไหล่ด้วย โดยบริษัทรถยนต์มักพยายามจะสร้างความเชื่อมั่นด้วยกา รกำหนดให้ตีตราของตนเองไว้อย่างชัดเจนบนตัวอะไหล่หรื อกล่อง

ส่วนตรา ของผู้ผลิตต้นกำเนิดจริง ถ้าไม่มีอำนาจต่อรองกับบริษัทรถยนต์ ก็จะไม่ปรากฏตราใดๆ บนอะไหล่ แต่ถ้าเป็นรายใหญ่ๆ มักจะได้สิทธิ์ตีตราของตนเองควบคู่กับยี่ห้อรถยนต์บน ตัวอะไหล่ โดยมักจะเป็นตราขนาดเล็กหรือหลบอยู่ ลองดูได้ในหลายชิ้นส่วนว่า จะพบทั้งยี่ห้อรถยนต์และตราหรือชื่อของบริษัทผู้ผลิต ชิ้นส่วน

สาเหตุ ที่บริษัทรถยนต์ต้องมีการสร้างศรัทธาในยี่ห้อข องอะไหล่ ก็เพราะต้องการขายอะไหล่ และไม่อยากให้ผู้บริโภคหันไปซื้ออะไหล่จากที่อื่น

เมื่อ สั่งซื้ออะไหล่มาแล้วก็ต้องบวกกำไรไว้ด้วย อะไหล่แท้จึงมักมีราคาแพง เพราะต้องมีกำไรหลายต่อ ไม่ได้เป็นการส่งออกมาจำหน่ายจากแหล่งผลิตโดยตรง

อะไหล่เทียบ อะไหล่ทดแทน
ใน ตลาดอะไหล่ เมื่อรถยนต์รุ่นใดมียอดจำหน่ายสูงหรือมีแนวโน้มว่าจะ ขายอะไหล่ได้ดี ผู้ผลิตรายย่อยต่างๆ ก็จะผลิตอะไหล่ที่ใช้ทดแทนได้ออกมาจำหน่าย โดยอาจจะมีผู้ผลิตรายย่อยที่ได้รับคัดเลือกจากบริษัท รถยนต์ให้ผลิตส่งให้ ผลิตออกมาจำหน่ายเองด้วยในยี่ห้อของตนเอง โดยมีคุณภาพใกล้เคียงมาก โดยอาจใช้วัสดุหรือแม่พิมพ์เดียวกันเลยก็มี เพียงแต่ไม่ได้ตีตรายี่ห้อรถยนต์เท่านั้น

รถยนต์รุ่นที่มียอดจำหน่ายมาก จึงมีอะไหล่ทดแทนออกมาจำหน่าย และควรทำความเข้าใจกับชื่อเรียกกันใหม่

- อะไหล่แท้ = แท้จากบริษัทรถยนต์
- อะไหล่ปลอม = แหล่งผลิตไม่แน่นอน แต่ตีตราบริษัทรถยนต์ เพื่อสร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้ซื้อ
- อะไหล่เทียบ อะไหล่เทียม อะไหล่ทดแทน = อะไหล่ที่ใช้แทนได้ ตีตราเป็นเอกเทศ ไม่ได้ตีตราบริษัทรถยนต์ มีสารพัดราคาและหลากคุณภาพ

หลาย คนสับสนกับคำว่า อะไหล่ปลอมกับอะไหล่เทียบ อะไหล่เทียม อะไหล่ทดแทน โดยเหมารวมไปว่าอะไหล่ที่ไม่ใช่ของแท้ต้องเป็นอะไหล่ ปลอม และมีคุณภาพแย่ไปทั้งหมด

สามารถพิสูจน์ได้จากตัวอย่างหนึ่ง คือ ยางรถยนต์ เมื่อหมดอายุแล้ว จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเปลี่ยนเป็นยี่ห้อเดิมรุ่นเดิ ม

ส่วน ใหญ่แล้วก็ไม่จำเป็นที่ต้องเปลี่ยนยางให้ตรงกับร ุ่นเดิมยี่ห้อเดิม โดยมักจะเลือกเปลี่ยนกันอย่างอิสระ ไม่ยึดติดกับยางเดิมกัน อย่างมากก็คงแต่ขนาดไว้เท่านั้น แต่ยี่ห้อและรุ่นของยางมักจะเปลี่ยนไป

การ เลือกใช้อะไหล่อื่นนอกจากอะไหล่แท้ (แล้วแต่จะเรียกว่าอะไร) นับเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย เพราะไม่มีมาตรฐานของผู้ผลิตรถยนต์เหมือนอะไหล่แท้ ผลิตกันอย่างอิสระ โดยส่วนใหญ่มักคุณภาพแย่ เพราะต้องการทำราคาให้ต่ำกว่าอะไหล่แท้ให้มากที่สุด เพื่อสร้างแรงจูงใจในการซื้อ

นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีความ เชื่อกันว่าอะไหล่ ไม่แท้ ด้อยคุณภาพไปทั้งหมด ทั้งที่บางยี่ห้อบางรุ่นก็อาจจะดีกว่าอะไหล่แท้ อยู่ที่ว่าจะทำหรือไม่ก็เท่านั้นเอง

การเลือกซื้อ ในบางชิ้นต้องใช้สายตาและการสัมผัสเป็นหลัก เช่น ยางหุ้มเพลาก็ลอง ดึงๆ ยืดๆ บิดดูเนื้อ แต่บางอย่างต้องหาข้อมูลก่อนตัดสินใจมากๆ เพราะไม่สามารถทดสอบได้ เช่น สอบถามผู้ที่เคยใช้มาก่อน ดูจากยี่ห้อที่อยู่บนอะไหล่แท้ชิ้นเดิม

สรุปว่าอะไหล่ที่ไม่แท้นั้น ไม่จำเป็นต้องมีคุณภาพต่ำเสมอไป เพราะต้องแล้วแต่นโยบายของผู้ผลิตแต่ละรายว่า ต้องการทำตลาดในระดับราคาไหน การเลือกใช้อะไหล่ที่ไม่แท้นั้นไม่ง่ายเลย แต่หลายอย่างก็เลือกไม่ยาก ถ้าสนใจหาข้อมูลและใช้ความรอบคอบในการเลือก

Credit:BKKCAR

แนะนำ RETRO CAR สักคัน

วันนี้ได้โอกาศแนะนำรถยนต์ สไตล์ RETRO CAR TOYOTA DX 2 ประตูที่คุ้นหูคนไทยกับคำว่า DX กระเทยด้วยอายุ 20 แก่ๆ ภายนอกดูสะดุดตาด้วยสีเหลือง กระจกมองข้างเดิมเหลี่ยมๆ ไม่เข้ากับยุคสักเท่าไหร่เลยจัดกระจกมองข้างของ CELICA มาสมทบดูดีขึ้นไม่น้อย เสริมความดุดันด้วยสเกรต์หน้าจาก TRD เร้าใจขึ้นเยอะ ขาดไม่ได้กับล้อแม็กยอดฮิตสำหรัย RETRO CAR WAANABE 13 นิ้ว เท่านี้ขับไปไหนมาไหนก็สดุดตาแล้ว...
เครื่องยนต์เดิมยกออก ใช้เครื่องยนต์ รหัส 2TG DOHC 1588 cc 110 แรงม้า ที่ 6000 รอบ แรงบิดอยู่ที่ 10.1/4800 รอบ กำลังอัด 9.8 ผาสูบทำจากอลูมิเนียมซึ่งมีระบบฝาสูบเป็นแบบ CROSSFLOW (ไอดีและไอเสียเข้าออกคนละทาง) ซึ่งสมัยก่อนยังไม่มีคนทำเท่าไหร่นักและถือได้ว่ารุ่นแรกๆ ที่ทาง YAMAHA ออกแบบฝาสูบให้ ปรกติเครื่องยนต์ 2TG นี้จะอยู่ใร TOYOTA CELICA ตัวนอก โมดิฟายฟายเพิ่มบ้างนิดหน่อยเพื่อความเร้าใจ ด้วยสปริงวาล์ว TRD แคมชาร์ฟ TRD ขนาด 280 องศาทั้งฝั่งไอดีและไอเสีย พร้อมทั้งชุดเพิ่มกำลังไฟจาก ACCEL และ CDI จาก ULTRA เมื่อทุกอย่างมาครบอากาสเป็นสิ่งสำคัญ คาร์บิวออน SOLEX เปลี่ยนชุดไอดีปากขนาด 44 มิล เฮดเดิอร์สูตร RALLY โดยตี้ Racing ระบบส่งกำลังใช้ หวีคลัทซ์ พร้อม LIMITED SLIP ของ TRD วิ่งระยะ 402 เมตร เวลาอยู่ที่ 17.28 วินาที



ภายในเน้นเดิมๆผสมผสานแนว RACING ด้วยเบาะ RACING หลังแข็งย้อนยุคจาก ACEX พวงมาลัย NARDI พร้อมฝาครอบแตรจาก TRD วัดรอบ OMORI พร้อมโรบาร์จากตี๋ RACING นวลจันทร์
ที่มา : Mo-Emag

กฎหมายเกี่ยวกับรถแต่ง(เบื้องต้น)

เรื่องความผิดทางด้านจราจร และเรื่องการจับกุม ของตำรวจบาง สน.
1. ท่อใหญ่ ที่เสียงดังไม่เกิน 90 เดซิเบลไม่ผิด ถ้าจะจับต้องมีเครื่องวัด จะใช้หูวัดเอาไม่ได้
2. สปอยเล่อร์ ชุดแต่งไฟเบอร์ ไม่ผิด แต่ต้องแข็งแรงและปลอดภัย
3. รถโหลดเตี้ยวัดจากไฟหน้าต้องไม่ต่ำกว่า 40 ซม. ( ต่ำกว่าผิด )
4. รถยกสูงต้องไม่สูงเกินกว่า 175 ซม.
5. เกจ์ และมาตรวัดต่างๆติดได้ไม่ผิด
6. การแข่งขันรถบนถนนหลวง ผิดกฎหมาย ยึดรถ ส่งฟ้องศาลทันที
7. เปิดไฟโคมเหลืองในขณะที่ไม่มีฝนตก หรือหมอกควัน ...อาจโดนเตือน
8. ควันขาว และควันดำ...ผิดครับเพราะก่อให้เกิดมลพิษ
9. การตัดต่อ ทำป้ายทะเบียนยาว ....ผิดกฎหมายฐานปลอมแปลง
10. ขับรถขณะมึนเมา...ผิดกฎหมาย จับได้ส่งฟ้องศาล

ถ้าท่านถูกจับให้จดชื่อ สถานที่จับกุม (สน.) รหัสข้างหมวก เจ้าหน้าที่ ยศ - ชื่อ - นามสกุล เวลา.....ที่จับกุม ท่านนั้นๆ
แล้วแจ้งไปที่ ศูนย์สั่งการจราจร 1197

จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน

แถมอีกนิดหน่อย

การใช้ไฟโคมเหลืองถ้าใช้ให้ถูกกับการะเทศะ.....ไม่ผิ ดครับ
เช่นใช้ ในขณะที่ฝนตกหนัก ที่มีหมอกควันหนาทึบ...ใช้ได้ไม่ผิด
แต่การใช้ขณะค่ำคืนปัจจุบันมันจะเข้าตาคันหน้า จึงเตือนไม่ให้ใช้
ฉะนั้นการใช้งานให้ถูกการะเทศะจึงจะปลอดภัยทุกประการ

การติดแผ่นป้ายไม่ถูกตำแหน่ง เช่นติดที่กันชนด้านซ้าย หรือขวา
แต่ควรติดใจตำแหน่งที่ชัดเจน ป้ายไม่มีการดัดแปลง หรือทำให้เล็กลง
คุยกันดีๆ พออนุโลมได้ ถ้าตำรวจท่านนั้นไม่..ฟัน...อย่างเดียว

รถโหลดเตี้ยวัดจากไฟหน้าต้องไม่ต่ำกว่า 40 ซม.

1. ถ้าไฟหน้าต่ำกว่า 40 cm. วัดจากพื้นถนนขึ้นมา ไม่ต้องเปิดไฟหน้า ผิด พ.ร.บ.
ถ้าวัดแล้วไม่ถึง 40 cm. วัดได้ 41 - 175 cm. ไม่ผิด พ.ร.บ.
2. ล้อ MAX. ขอบเท่าใหร่ ใส่มันขอบ 30 ก็ไม่ผิดกฏหมาย ถ้าไม่ล้นออกมานอกตัวถัง
ของรถ Standard. ไม่ผิดกฏหมาย..... แต่ถ้าไปดึงโป่งล้อให้ยื่นออกมาจากที่
จดทะเบียนไว้ ผิดแน่นอนครับ....ดัดแปลงสภาพ เต็มๆ
3. ท่อใหญ่ แค่ไหนก็ไม่ผิด เพราะไม่มีกฎหมายระบุไว้ มีแต่เสียง ถ้าดังเกิน 90 db.
อ๋อ...แน่นอนครับ....ผิดเห็นๆอยู่แล้ว
4. ชุดแต่ง สปอยเลอร์ สเกิรต์ กันชนไฟเบอร์ เกจ์วัดต่างๆ ภายในตัวรถ ก็ไม่ผิดกฏหมาย
ไม่มีระบุเอาไว้

ล้างหัวฉีดจำเป็นแค่ไหน

หากหัวฉีดเริ่มตัน แม้การเปิดของตัวหัวฉีดยังมีระยะเวลาปกติ แต่น้ำมันที่ถูกฉีดออกมาอาจมีปริมาณไม่พอดีกับที่เคย ฉีดตามปกติ ทำให้เครื่องยนต์แรงตก หรือกินน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น

ิน้ำมัน เบนซินมีคุณสมบัติทำละลายสิ่งสกปรกในระดับหนึ ่งอยู่แล้ว ตามที่เห็นกันตามอู่เอามาล้างทำความสะอาดอะไหล่ต่างๆ ตลอดเวลาที่มีน้ำมันเบนซินไหลผ่าน หากมีสิ่งสกปรก ก็จะสามารถละลายออกไปได้พอสมควรอยู่แล้ว แต่ก็มีสิ่งสกปรกบางอย่าง ที่ไม่สามารถละลายได้ด้วยน้ำมันเบนซิน จึงทำให้หัวฉีดมีการอุดตัน

ล้างหัวฉีด ทำอย่างไร
การ ล้างหัวฉีดมีวิธีการหลัก คือ ปล่อยน้ำยาพิเศษให้ไหลเวียนเข้าไปในระบบเดียวกับน้ำม ันเบนซินเพื่อทำความสะอาดให้หัวฉีด ส่วนจะได้ผลหรือไม่ มากน้อยแค่ไหนนั้น ไม่สามารถสรุปได้จนกว่าจะมีการล้าง เพราะมี 3 ตัวแปรที่สำคัญ คือ
1. สภาพของหัวฉีด
2. การอุดตันของสิ่งสกปรกมีความแข็งแค่ไหน
3. น้ำยาแรงแค่ไหน

โดย ทั่วไปแล้ว เมื่อเครื่องยนต์ถูกใช้งานประมาณ 100,000 กิโลเมตรขึ้นไป แม้หัวฉีดของบางเครื่องยนต์จะมีการอุดตันบ้าง แต่การทำงานก็ไม่ได้ออกอาการผิดปกติให้ทราบ

ควรล้างหัวฉีดหรือไม่
ถ้า พิสูจน์ได้ว่าน้ำยาที่ส่งเข้าไปล้างนั้น ไม่มีฤทธิ์แรงมากจนกัดกร่อนท่อส่งน้ำมันหรือซีลในระบ บหมุนเวียนของน้ำมันเบนซิน และมีค่าใช้จ่ายในการล้างไม่แพงจัด ก็สามารถตัดสินใจล้างได้ เพราะถ้าไม่นับเรื่องเงินที่เสียไป เมื่อล้างแล้วก็ไม่น่าจะแย่ลง ก็ไม่มีการแย่ลง เพียงแต่จะได้ผลมากหรือน้อยเท่านั้น

ดังนั้นจึงไม่ควรคาดหวังผลจาก การล้างหัวฉีดมากเกินไป ที่แน่ๆ คงไม่ดีขึ้นแบบจากหน้ามือเป็นหลังมือ และในเครื่องยนต์รุ่นเดียวกัน มีอายุการใช้งานที่ใกล้เคียงกัน เมื่อล้างหัวฉีดด้วยน้ำยาชนิดเดียวกันแล้ว ผลที่ได้อาจไม่เท่ากัน เพราะสิ่งสกปรกค้างอาจไม่เท่ากัน และ/หรือมีความแข็งไม่เท่ากัน

จาก ข้อมูลที่ได้รับมา พบว่ามีบางส่วนเท่านั้นที่ล้างหัวฉีดแล้วได้ผลดีขึ้น แบบสัมผัสได้ บางส่วนก็ดีขึ้นเล็กน้อย และบางส่วนก็ไม่สามารถสัมผัสถึงความแตกต่างได้เลย แต่ทั้งหมดนั้น แน่นอนว่าไม่มีผลเสียในด้านการทำงานของเครื่องยนต์ มีแต่ดีขึ้นกับเสมอตัว

ถ้า ยังงง ให้เปรียบเทียบกับนิ่วในร่างกายมนุษย์ แม้ทราบว่ามีก้อนนิ่ว แต่ก็ไม่ทราบว่ายาจะสามารถละลายนิ่วได้หรือไม่ เพราะต้องขึ้นอยู่กับความแรงของยาที่ใช้ รวมทั้งขนาดและความแข็งของก้อนนิ่วนั้น ถ้าแข็งมากอาจต้องผ่าตัดกันเลย

ถ้า รถยนต์ผ่านการใช้งานไปมากกว่า 100,000 กิโลเมตรแล้วสนใจการล้างหัวฉีด ก็สามารถล้างได้ โดยไม่ต้องรอให้เครื่องยนต์มีการทำงานที่ผิดปกติ เพราะถ้าหัวฉีดผิดปกติถึงขนาดทำให้เครื่องยนต์สะดุด การล้างหัวฉีดคงช่วยอะไรไม่ได้ และคงต้องเปลี่ยนหัวฉีด (ถ้าต้นเหตุมาจากตัวหัวฉีดจริงๆ) โดยมีข้อแม้ว่าน้ำยาต้องไม่แรงจัดจนกัดกร่อนท่อยางหร ือซีลต่างๆ ในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง และต้องทำในราคาที่ไม่แพงเกินไป แต่อาจได้ผลมากน้อยต่างกัน แน่นอนว่าไม่แย่ลง ไม่มีอะไรเสีย นอกจากเงินในกระเป๋า
 
สังคมของคนใช้มอเตอร์ไซด์ออโตเมติก | coyote | car | ฟังเพลงออนไลน์ เนื้อเพลง | free music and music lyrics